เครื่องมือรักษาอาการนอนกรน (MAD)
เครื่องมือทางทันตกรรม (Oral Appliance) รักษาอาการนอนกรนและ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การอุดฟันสีขาวคืออะไร?
การอุดฟันสีขาว เป็นหนึ่งในวิธีรักษาอาการฟันผุด้วยการใช้วัสดุอุดฟันลงไปยังตำแหน่งที่มีปัญหา ซึ่งในปัจจุบันการอุดฟันมีวัสดุให้เลือกใช้ได้ตามความต้องการของผู้เข้ารับบริการ โดยหนึ่งในนั้นคือการอุดฟันด้วยสารสีขาวนั่นเอง โดยวัสดุอุดฟันชนิดนี้ผลิตด้วย Resin Composite มีลักษณะสีขาว ให้ความคล้ายคลึงกับผิวฟันได้ดี เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการให้วัสดุอุดฟันเป็นจุดเด่นในช่องปาก
วิธีการอุดฟันสีขาว ทันตแพทย์จะใช้วิธีการฉายแสงเพื่อให้วัสดุอุดฟันละลายแนบกับผิวฟัน โดนก่อนที่จะทำการอุดนั้นต้องทำการกรอเนื้อฟันที่ผุออกก่อน แล้วค่อยนำวัสดุอุดฟันอุดลงไปบริเวณที่ต้องการ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea : OSA)
ในขณะหลับ นอกจากเกิดอาการกรนแล้ว ยังพบว่า อาจมีการหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย เมื่อเนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ร่างกายจะพยายามหายใจเข้ามากขึ้นเพื่อให้อากาศผ่านเข้าทางเดินหายใจที่ตีบลง ยิ่งทำให้ทางเดินหายใจแคบขึ้นจนกระทั่งปิดสนิท คล้ายกับการดูดชิ้นของอาหารด้วยหลอด ชิ้นของอาหารจะติดที่ปลายหลอด ทำให้ไม่สามารถผ่านไปได้ อาหารในที่นี้เปรียบเสมือนอากาศนั่นเอง เมื่ออากาศไม่สามารถผ่านทางเดินอากาศที่ปิดสนิท ร่างกายจึงไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อสมองขาดออกซิเจน จะทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นในรูปแบบการหายใจแรงหรือไอแรง เพื่อปรับตำแหน่งของลิ้นใหม่ ในวงรอบของการนอน อาจมีการกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับหลายครั้ง เป็นผลทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่เพียงพอและสมองได้รับออกซิเจนไม่เต็มที่
เครื่องมือทันตกรรมสำหรับรักษาหรือแก้อาการนอนกรนและ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
เครื่องมือในช่องปากที่ใช้สำหรับการรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้น ทำจากอะคริลิกสำหรับใช้ในช่องปาก มีลักษณะคล้ายกับรีเทนเนอร์สำหรับผู้ป่วยจัดฟันหรือเฝือกสบฟันสำหรับผู้ป่วยนอนกัดฟัน เครื่องมือในช่องปากจะช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อคอหย่อนลงในขณะหลับ จึงช่วยป้องกันการอุดกลั้นทางเดินหายใจ เครื่องมือในช่องปากมีความรำคาญน้อยกว่าการใช้เครื่อง CPAP ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัด เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า อย่างไรก็ตามเครื่องมือในช่องปากจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อ ผู้ป่วยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ในระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง
เครื่องมือในช่องปากสำหรับแก้นอนกรนมีหลายแบบ โดยมีหลักการทำงาน 3 วิธี ได้แก่
1. จัดตำแหน่งขากรรไกรล่างให้ยื่นมาด้านหน้า
2. จัดตำแหน่งของลิ้นมาด้านหน้า
3. ช่วยยกเพดานอ่อน และลิ้นไก่ให้สูงขึ้น
อาการนอนกรน จัดว่าเป็นปัญหาของการนอนหลับที่พบได้บ่อย เสียงกรน นอกจากก่อความรำคาญแก่ผู้ที่นอนด้วยแล้วยังทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายผู้ป่วยมากมาย เช่น อ่อนเพลียตอนกลางวัน ประสิทธิภาพในการคิด จดจำ ทำงานด้อยลง มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หากมีอาการนอนกรนหรือสงสัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอน ควรรีบทำการวินิจฉัย ประเมินระดับความรุนแรงและพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เพื่อแก้อาการนอนกรน ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ และจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เครื่องมือทันตกรรมสำหรับแก้การนอนกรนนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. เครื่องมือทันตกรรมที่ช่วยจัดตำแหน่งของลิ้น (tongue retaining appliance)
เครื่องมือทันตกรรมชนิดนี้มีส่วนประกอบที่จะช่วยยึดลิ้นไว้ให้อยู่ในตำแหน่งด้านหน้า ไม่ให้ตกลงไปทางด้านหลังขณะนอนหลับ โดยอาศัยแรงดันที่เป็นลบในส่วนประกอบดังกล่าว ทำให้ทางเดินหายใจบริเวณหลังโคนลิ้นเปิดกว้าง ไม่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ เพื่อช่วยแก้อาการนอนกรน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่มีฟัน ผู้ป่วยที่มีโรคเหงือก หรือ โรคของข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint dysfunction)
2. เครื่องมือทันตกรรมที่ช่วยจัดตำแหน่งของขากรรไกรล่าง (mandibular repositioning appliances)
เครื่องมือทันตกรรมชนิดนี้เป็นชนิดที่ใช้บ่อยที่สุดในการรักษาอาการนอนกรน และ/หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยจะยึดขากรรไกรบนและล่างเข้าด้วยกัน และสามารถเลื่อนขากรรไกรล่างไปทางด้านหน้าขณะนอนหลับ ซึ่งจะทำให้ลิ้นเลื่อนตำแหน่งไปทางด้านหน้าด้วย เนื่องจากลิ้นยึดติดอยู่กับขากรรไกรล่าง ทำให้ทางเดินหายใจบริเวณหลังโคนลิ้นเปิดกว้าง นอกจากนั้นยังช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อของลิ้นมัดต่างๆ ทำให้มีความตึงตัวเพิ่มมากขึ้น ป้องกันไม่ให้มีการอ้าปากขณะหลับ ซึ่งอาจจะทำให้มีการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อลิ้นเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นเครื่องมือทันตกรรมยังช่วยทำให้กล้ามเนื้อของเพดานอ่อนตึงตัว และจัดตำแหน่งของเพดานอ่อนให้เลื่อนมาทางด้านหน้า ทำให้ทางเดินหายใจส่วนบนหลังเพดานอ่อนกว้างขึ้นขณะนอนหลับด้วย ช่วยแก้การนอนกรนได้อย่างดี
ข้อดีของเครื่องมือทันตกรรม เหนือ เครื่องเป่าลม (CPAP)
ผู้ป่วยนอนกรนและ/หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มีแนวโน้มที่จะร่วมมือในการใช้เครื่องมือทันตกรรมขณะหลับมากกว่าเครื่องเป่าลม เนื่องจากสะดวกและสบายมากกว่าในการใช้ ไม่ต้องมีหน้ากากมาครอบขณะหลับ ใส่และสวมง่าย สะดวกในการพกพาขณะเดินทาง ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า และไม่มีเสียงรบกวนคนข้างเคียงเวลานอนเหมือนเครื่องเป่าลม ไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าน่าละอายในการสวมใส่ขณะนอน สำหรับผู้ป่วยบางรายที่นอนกัดฟัน เครื่องมือทันตกรรมสามารถช่วยรักษาอาการนอนกรนดังกล่าวได้ด้วย
การใช้เครื่องมือทันตกรรมเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนธรรมดา หรือเป็นกรนอันตราย (มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย) ที่มีความรุนแรงอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง โดยเฉพาะในรายที่ชอบใช้เครื่องมือทันตกรรมมากกว่าเครื่องเป่าลม หรือใช้เครื่องเป่าลมแล้วอาการทั่วไปดีขึ้น แต่ไม่ต้องการที่จะใช้ หรือใช้เครื่องเป่าลมแล้วรู้สึกอึดอัด นอนลำบาก ผู้ป่วยควรใช้เครื่องมือทันตกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตาม เครื่องมือทันตกรรมเพื่อรักษาภาวะดังกล่าว ควรได้รับการทำโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและศึกษาทางด้านทันตกรรมนอนกรนโดยเฉพาะ และควรได้รับการนัดตรวจอย่างสม่ำเสมอจากแพทย์และทันตแพทย์ดังกล่าว เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยใช้เครื่องมือทันตกรรมได้อย่างถูกต้อง ไร้ปัญหา แก้การนอนกรนได้ตรงจุด และภาวะแทรกซ้อน
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จาดการใช้เครื่องมือทันตกรรมเพื่อแก้การนอนกรน
• อาจมีการสบฟันที่ผิดปกติไปบ้าง หรือปวดฟันบ้าง แต่พบได้น้อย
• อาจพบว่ามีอาการเจ็บบริเวณที่ใส่เครื่องมือทันตกรรม หรือเกิดแผลที่เหงือกได้
• อาจมีอาการปวด เมื่อย เจ็บ รู้สึกไม่สบาย บริเวณข้อต่อกระดูกขากรรไกร และบริเวณโดยรอบได้
• ในระยะแรกๆ อาจมีน้ำลายออกมากผิดปกติ และรู้สึกว่าน้ำลายแห้ง ปากแห้ง หรือ มีกลิ่นปากในเวลาต่อมา เนื่องจากหุบปากไม่สนิทเวลานอน
ผลข้างเคียงดังกล่าว ถ้าใช้เครื่องมือทันตกรรมเพื่อรักษาการนอนกรนไปสักระยะหนึ่ง ผู้ป่วยมักปรับตัวได้ และปัญหาดังกล่าวมักจะดีขึ้น
ขั้นตอนการใส่เครื่องมือทันตกรรม
• ครั้งแรกคนไข้จะต้องเข้ามาปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อตรวจในช่องปาก
• แพทย์จะส่งทำ Sleep Test (ตรวจการนอนหลับ) เพื่อแยกความผิดปกติ เพราะหากเกิดจากระบบประสาทก็จะไม่สามารถใช้เครื่องมือกันกรนได้เมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าสามารถใช้เครื่องมือได้แล้ว ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งLab จัดทำเครื่องมือ จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์แล้วนัดหมายคนไข้ให้มาลองใส่เครื่องมือรักษานอนกรน
• คนไข้จะได้ทดลองใช้เครื่องมือกันกรน 2 สัปดาห์ และนัดหมาย ติดตามอาการ
• หลังจากนั้นอีก 1 เดือน แพทย์จะทำการนัดหมาย Check เครื่องมือกันกรน ว่าจะต้องเพิ่มขนาด elastic เพื่อให้เหมาะกับการใช้งานของแต่ละบุคคลหรือไม่
ข้อควรระวังสำหรับเครื่องมือแก้การนอนกรน
1. ห้ามใช้ผงขัดกับแปรงที่แข็งเกินไป
2. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำร้อนทำความสะอาด เพราะจะทำให้เครื่องมือกันกรนบิดงอได้
3. ห้ามแช่ในน้ำยาบ้วนปาก หากต้องการทำความสะอาดให้แช่ในเม็ดฟู่แช่ฟันปลอมตามทันตแพทย์สั่ง
4. เครื่องมือกันกรนจะมีส่วนข้อต่อระหว่างบนและล่าง ซึ่งอาจเป็นพลาสติก หรือโลหะ หรือยางแล้วแต่ระบบที่จะเลือกใช้เวลาทำความสะอาดควรทำด้วยความนุ่มนวล
5. เมื่อใช้งานไปถ้าข้อยึดของเครื่องมือกันกรนได้รับความเสียหาย คด งอ ควรนำเครื่องมือกันกรนมาให้ทันตแพทย์ที่เป็นผู้ทำเครื่องมือให้แก่ผู้ป่วยทำการปรับแต่งในส่วนของเครื่องมือกันนอนกรน อีกทั้ง เป็นการตรวจประเมินผลการรักษาการนอนกรนด้วย
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเครื่องมือทันตกรรมรักษาอาการนอนกรน
อ.ทพญ.ณัฐกานต์ ฮ้อศิริลักษณ์
Dental Occlusion, Temporomandibular disorders
Education
• 2019: Ph.D. (Dental Science: Oral Biology), Health Science University of Hokkaido, Japan
• 2014: Higher Grad. Dip. (Masticatory Science), Faculty of Dentistry, Mahidol University
• 2013: Doctor of Dental Surgery, Faculty of Dentistry, Srinakharinwirot University
Academic and professional background
• 2014-present: Full time faculty, Faculty of Dentistry, Mahidol University (Department of Masticatory Science)
Membership
• Thai Dental Council
• Thai Association for the study of pain