Page Contents
ครอบฟันนั้น…สำคัญฉไหนสิ่งที่ควรรู้ในการครอบฟัน และทำสะพานฟัน
การครอบฟัน (Dental Crowns) คืออะไร?
การครอบฟัน ถือเป็นหนึ่งในวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทันแพทย์ได้เลือกใช้บ่อยที่สุด ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากรกว่า 15 ล้านคนที่ได้รับการรักษาฟันโดยวิธีนี้ โดยการครอบฟัน คือ การใช้วัสดุที่มีรูปร่าง ขนาด และสีที่คล้ายคลึงกับฟันจริง มาครอบลงไปยังบริเวณที่เกิดปัญหา เพื่อทำให้ฟันที่มีปัญหานั้นเกิดความแข็งแรงมากขึ้น และยังทำให้เกิดความสวยงาม มั่นใจ ไร้กังวลในยามที่ต้องยิ้ม
วัสดุที่ใช้ในการทำครอบฟันนั้น มักผลิตมาจากพอร์เซเลน(Porcelain) หรือเซรามิก (Ceramic) เนื่องจากสามารถปรับสีให้เข้ากับฟันธรรมชาติได้ ไม่ดูโดดหรือดูแปลกจนเกินไป นอกจากนี้ ยังใช้ทอง และโลหะผสมอื่นๆ เช่น อะคลีลิค เมทัล (Metal) สแตนเลส-สตีล (Stainless steel) มาเป็นส่วนประกอบหลัก เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทานกว่าพอร์เซเลน แต่ไม่อาจให้สีธรรมชาติเหมือนพอร์เซเลนได้ จึงต้องใช้หลายองค์ประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้วัสดุที่ได้มีความเหมาะสมที่สุดในการรักษา
การครอบฟัน มีประโยชน์อยู่หลายประการ โดยสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
- ช่วยในการปกป้องฟันที่มีปัญหาหรือมีความอ่อนแอ: ในกรณีที่ท่านมีฟันที่เกิดการแตก หัก มีรอยแหว่งหรือร้าว การใส่ที่ครอบฟันนั้นจะช่วยยึดเนื้อฟันเข้าด้วยกันได้ และรวมไปถึงช่วยปิดไม่ให้เห็นฟันที่มีปัญหา ทำให้ท่านสามารถมีฟันที่สวยงาม ไร้ที่ติได้ในพริบตาเดียว
- ช่วยปกปิดฟันที่มีปัญหารูปลักษณ์ไม่เหมาะสม: นอกจากฟันที่มีปัญหาดังกล่าวข้างต้นแล้ว การครอบฟันยังสามารถปกปิดฟันที่มีรูปร่างลักษณะไม่เหมาะสม เช่น ฟันที่บิ่น หรือมีเนื้อสีที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ฟันเหลือง ก็สามารถปกปิดได้ และทำให้ท่านเกิดความมั่นใจได้อีกครั้งกับฟันที่สวยงาม
- สามารถใช้แทนการอุดฟันได้ ในกรณีที่ผู้เข้ารับการรักษามีเนื้อฟันที่เหลืออยู่น้อยเกินไป ไม่เหมาะสมที่จะอุดฟัน สามารถใช้การครอบฟันเป็นการรักษาทดแทนการครอบฟัน (Dental Crowns) แตกต่างจากการทำวีเนียร์ (Veneer) อย่างไร?การครอบฟัน ต่างจากการรักษาโดยการทำวีเนียร์ เนื่องจากการทำวีเนียร์จะใช้วัสดุอุปกรณ์ แปะอยู่ด้านหน้าฟันซี่ที่มีปัญหาเพียงเท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาฟันอยู่มากและเหลือเนื้อฟันน้อยกว่าฟันปกติ อาจแนะนำให้ทำการครอบฟันแทน เนื่องจากเป็นการใช้ตัวอุปกรณ์ ครอบลงไปบนฟันทั้งซี่ ซึ่งจะช่วยปกปิดได้ทั้งหมด และยังช่วยเชื่อมฟัน ยึดฟันที่มีปัญหาให้เข้าที่ได้มากกว่าการแปะฟันแบบการทำวีเนียร์ ดังนั้น การรักษาจึงควรได้รับการแนะนำจากทันตแพทย์ เพื่อให้เหมาะสมในแต่ละเคส ซึ่งมีเงื่อนไขและรายละเอียดแตกต่างกันไป
ขั้นตอนการครอบฟัน (Dental Crowns)?
ขั้นตอนการครอบฟัน สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- ทันตแพทย์จะนัดหมายเพื่อทำการตรวจฟันเบื้องต้น และเน้นไปที่การตรวจการสบฟันและคุณภาพของเหงือก หลังจากนั้นจึงทำการเอ็กซ์เรย์ และวางแผนการรักษาร่วมกันกับผู้เข้ารับการรักษา หลังจากนั้นจะทำการกรอแต่งฟันภายใต้ยาชาเฉพาะที่ตามชนิดของครอบฟัน พิมพ์ปากและเลือกสีฟัน จากนั้นจะทำการใส่ครอบฟันชั่วคราวให้กับคนไข้
- ทันแพทย์ทำการกรอฟันเพื่อตกแต่งฟันให้เหมาะสมก่อนจะครอบฟัน ทำการพิมพ์ปาก และเลือกเฉดสีของฟันเพื่อให้เหมาะกับผู้เข้ารับการรักษามากที่สุด หลังจากนั้นทันแพทย์จะทำการใส่อุปกรณ์ครอบฟันชั่วคราวให้กับคนไข้ ก่อนจะนัดหมายมาใส่อุปกรณ์จริงอีกครั้ง
- หลังจากนั้นประมาณ 3-5 วัน ทันตแพทย์จะนัดหมายให้ผู้เข้ารับการรักษาเข้ามาทดลองครอบฟัน ในขั้นตอนนี้อาจเพิ่มการกรอเพื่อตกแต่งให้เข้าที่อีกครั้ง ก่อนใส่อุปกรณ์ครอบฟันจริงเข้าไป
- เมื่อใส่อุปกรณ์จริงเข้าไปแล้ว ทันตแพทย์จะตรวจเช็กการสบฟัน ขอบเหงือก รอบต่อต่างๆและผิวเคลือบฟันว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เมื่อทุกอย่างเข้าที่แล้ว จึงจะทำการใช้กาวทางทันตกรรมยึดทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกันอย่างแข็งแรงทนทาน
- เมื่อทำการรักษาโดยการครอบฟันแล้ว โดยปกติทันแพทย์จะนัดหมายให้ผู้เข้ารับการรักษา เข้ามาตรวจสอบในทุกๆ
- เดือน เพื่อตรวจเช็กตัวอุปกรณ์ และเช็กความเรียบร้อยในช่องปาก
วิธีการดูแลรักษา หลังจากทำการครอบฟัน (Dental Crowns)?
วิธีการดูแลรักษาครอบฟัน เพื่อทำให้ครอบฟันมีอายุการใช้งานยาวนานและไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- ผู้เข้ารับการรักษาควรหมั่นพบทันแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามนัดหมาย เพื่อทำการตรวจเช็กตัวอุปกรณ์ และให้ทันตแพทย์ช่วยในการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม
- ผู้เข้ารับการรักษาควรแปรงฟันและทำความสะอาดฟันโดยใช้ไหมขัด อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน รวมถึงการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบวมหรืออาการอักเสบต่างๆ วันละ 3 ครั้ง การดูแลรักษาแบบดังกล่าวจะหลีกเลี่ยงอาการติดเชื้อ รวมถึงโรคเหงือกที่อาจเกิดขึ้นได้หากละเลยการรักษาความสะอาด
- ผู้เข้ารับการรักษาควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่เหนียวหรือแข็งจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการครอบฟัน อาทิ น้ำแข็ง, ลูกอมที่ต้องใช้การเคี้ยว, คาราเมล, หมากฝรั่ง เป็นต้น
- หลังจากการใส่ครอบฟัน ผู้เข้ารับการรักษาอาจเกิดอาการเสียวฟันขึ้นได้ในบางครั้ง โดยปกติแล้วอาการจะหายไปเองได้ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงอาการดังกล่าว
ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อนจัด/เย็นจัด หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยว มีความเป็นกรดสูง หากมีการเสียวฟันมากขึ้นสามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อรักษาในเบื้องต้นได้ แต่หากไม่ดีขึ้นและมีอาการเรื้อรัง ควรเข้าพบทันแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษา - ผู้เข้ารับการรักษาควรติดต่อขอเข้าพบทันตแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการไม่พึงประสงค์ เช่น อุปกรณ์ครอบฟันเกิดการร้าว หรือแตกหัก, อุปกรณ์ครอบฟันหลุดหรือหายไป, ใส่ครอบฟันแล้วรู้สึกไม่สบายหรือสบฟันได้ผิดปกติ, เกิดอาการแพ้ต่างๆซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เฉพาะบุคคล เป็นต้น
ทำไมต้องใช้สะพานฟัน (Why do I need a Dental Bridges)?
การทำสะพานฟัน (Dental Bridges) คืออะไร?
หากท่านเป็นคนหนึ่งที่สูญเสียฟันแท้ การรักษาโดยการทำสะพานฟัน ถือเป็นทางเลือกแรกๆที่จะช่วยในการรักษาและฟื้นคืนฟันที่เสียไปได้อย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด สะพานฟัน เป็นฟันปลอมชนิดหนึ่งที่ติดแน่น ไม่ต้องถอดเข้าถอดออก และมีลักษณะรูปร่างที่คล้ายคลึงกับฟันแท้เป็นอย่างมาก โดยการทำสะพานฟันนั้นจะใช้ฟันซี่ข้างๆในการยึดโยง สะพานฟันจะไม่มีเหงือกปลอมหรือตะขอติดมาที่เพดานปากด้วยเหมือนฟันปลอมประเภทอื่นๆ ทำให้ผู้เข้ารับการรักษารู้สึกใส่สบาย ไม่รู้สึกติดขัดหรือรำคาญในช่องปาก
นอกจากสะพานฟันจะทำหน้าที่เป็นฟันปลอมแทนที่ฟันที่สูญเสียไปได้แล้ว การทำสะพานฟันยังช่วยยึดโยง ป้องกันไม่ให้ฟันซี่ข้างๆเกิดการเคลื่อนที่หรือล้มได้อีกด้วยหรือในกรณีที่ฟันข้างๆมีปัญหาร่วม เช่น รักษารากฟันอยู่ หรือมีอาการบิ่น แตก หัก ไม่สมส่วน ก็เหมาะสมที่จะใช้การทำสะพานฟันในการรักษา เนื่องจากสามารถใช้ครอบฟันเป็นชุดเดียวกันกับฟันซี่ที่หายไปได้ การทำสะพานฟันนั้นจะช่วยรักษารูปหน้าของท่านไม่ให้เกิดการผิดปกติจากการสูญเสียฟัน ช่วยทำให้ขากรรไกรไม่ผิดรูป และช่วยในการเคี้ยวอาหาร พูด และยิ้มได้อย่างมั่นใจ
ประเภทของสะพานฟัน (Dental Bridges)?
สะพานฟัน มีอยู่หลายประเภท แต่ที่นิยมมากที่สุดจะมีอยู่ 3 ประเภทดังต่อไปนี้
- สะพานฟันแบบธรรมดา (Traditional dental bridge): เป็นประเภทของสะพานฟันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด วัสดุผลิตและประกอบจากเซรามิกหรือพอร์เซเลนหลอมกับเหล็ก โดยจะมีตัวครอบฟันสำหรับฟันบริเวณข้างๆฟันซี่ที่หายไป (ฟันหลัก)
- สะพานฟันแบบใช้หลักยึดเพียงข้างเดียว (Cantilever dental bridge): โดยส่วนมากจะใช้กับผู้เข้ารับการรักษา ที่สูญเสียฟันในซี่ที่มีฟันข้างๆเพียงข้างเดียวในกรณีนี้ ทันตแพทย์จะทำฟันหลักโดยมีฟันลอยติดเข้าที่ปลายของฟันหลักเข้าไป เพื่อให้เกิดการพึ่งพิงกันที่เหมาะสม
- สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์(Maryland dental bridge): สะพานฟันชนิดนี้จะมีความคล้ายคลึงกับสะพานฟันแบบธรรมดา แต่ในขณะที่สะพานฟันแบบธรรมดาจะใช้ครอบฟันบนฟันที่ยื่นออกมา การทำสะพานฟันแบบแมรี่แลนด์จะใช้โครงของโลหะหรือพอร์ซเลนที่ยึดติดกับด้านหลังของฟันยึดแทน
ขั้นตอนการทำสะพานฟัน (Dental Bridges)?
ขั้นตอนการทำสะพานฟัน มีดังต่อไปนี้
- ขั้นตอนในการวางแผนและจัดเตรียมก่อนติดอุปกรณ์สะพานฟัน: ในขั้นตอนนี้ ทันตแพทย์จะทำการนัดหมายผู้เข้ารับการรักษาเข้ามาเพื่อตรวจวินิจฉัยปัญหาในเบื้องต้น โดยวิเคราะห์ว่าควรใช้การรักษาประเภทใดจึงจะเหมาะสมและได้รับประสิทธิผลที่ดีที่สุด หลังจากวางแผนการรักษาร่วมกันแล้ว จึงทำการเตรียมความพร้อมฟันก่อนการติดอุปกรณ์ในลำดับถัดไป
การเตรียมความพร้อมฟัน จะต้องทำการกรอฟันซี่ข้างเคียงซึ่งเป็นซี่ที่เป็นฐานในการจะยึดโยงสะพานฟันเอาไว้ การกรอฟันจะทำให้ฟันซี่ดังกล่าวมีขนาดเหมาะสม เมื่อใส่อุปกรณ์แล้วจะดูเป็นธรรมชาติอย่างมาก หลังจากนั้นทันตแพทย์จะทำการออกแบบเฉดสี รูปร่าง ขนาด และลักษณะของสะพานฟันที่ต้องการ ก่อนจะทำการพิมพ์ปาก และส่งไปยังห้องแลปที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์สะพานฟัน ในช่วงระหว่างที่รอสะพานฟันจากห้องแลปนั้น ทันตแพทย์จะให้ผู้เข้ารับการรักษาใช้สะพานฟันชั่วคราวก่อนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง - ขั้นตอนในการติดอุปกรณ์สะพานฟัน: เมื่อทันแพทย์นัดหมายท่านเพื่อเข้ามาติดอุปกรณ์สะพานฟัน ทันตแพทย์จะทำการรื้อสะพานฟันชั่วคราวออกก่อน หลังจากนั้นจึงนำอุปกรณ์ที่ได้รับจากห้องแลป ซึ่งถูกออกแบบมาเฉพาะบุคคล มาติดให้กับผู้เข้ารับการรักษา ก่อนจะติดจะมีการตรวจสอบอีกครั้งว่าอุปกรณ์พอดีกับฟันหรือไม่ การสบฟันสามารถทำได้ปกติหรือไม่ เมื่อทุกอย่างลงตัวก็สามารถติดอุปกรณ์เข้าไปได้ และทำให้ท่านได้รับรอยยิ้มที่สวยงาม มีความมั่นใจกลับคืนมาอีกครั้ง
วิธีการดูแลรักษาหลังจากการทำสะพานฟัน (Dental Bridges)?
วิธีการดูแลรักษาหลังจากการทำสะพานฟัน สามารถทำได้อย่างง่ายดายดังต่อไปนี้
- ในช่วงแรก ผู้เข้ารับการรักษาควรรับประทานอาหารที่ไม่เหนียวหรือแข็งจนเกินไป ควรรับประทานอาหารอ่อนเพื่อให้เกิดความคุ้นชินกับสะพานฟันมากขึ้น รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารหรือน้ำดื่มที่มีกรด มีรสเปรี้ยว หรือมีอุณภูมิร้อน-เย็นจนเกินไป เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้มากยิ่งขึ้น
- ผู้เข้ารับการรักษาควรรักษาความสะอาด โดยควรแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และบ้วนน้ำเกลือเพื่อป้องกันอาการเหงือกอักเสบ วิธีเหล่านี้จะช่วยยืดเวลาและทำให้สะพานฟันมีอายุการใช้งานที่นานยิ่งขึ้น
- ผู้เข้ารับการรักษา ควรพบทันตแพทย์อย่างต่อเนื่องตามนัดหมาย เนื่องจากทันตแพทย์จะทำการตรวจสอบตัวอุปกรณ์และสภาพฟันในบริเวณดังกล่าว แต่หากมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นก่อนนัดหมาย เช่น อุปกรณ์เกิดการแตกหัก มีรอยร้าว หรือรู้สึกไม่สบายเวลาสบฟัน ควรรีบนัดหมายทันตแพทย์เพื่อเข้าตรวจสอบโดยทันที
เทคโนโลยีใหม่จากทันตกรรมทันตกิจ?–
ทั้งการรักษาโดยเทคนิคการครอบฟันและการทำสะพานฟันนั้น ต่างก็ต้องใช้ความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจากทันตแพทย์ รวมถึงเครื่องมือในการผลิตอุปกรณ์ก็เป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ผู้เข้ารับการรักษาควรศึกษาก่อนเลือกสถานที่ในการรักษา เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีที่สุด ทันตกรรมทันตกิจ ถือเป็นหนึ่งในด้านการรักษาทันตกรรมในทุกด้าน
“ทันตกรรมทันตกิจ” นอกจากจะมีชื่อเสียงในด้านความเชี่ยวชาญในการรักษาของทันแพทย์แล้ว ในด้านการรักษาโดยใช้การครอบฟันและสะพานฟันนั้น ทันตกรรมทันตกิจยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตตัวอุปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งเป็นการผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ (CAD/CAM)
เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตครอบฟันและสะพานฟันด้วยคอมพิวเตอร์ CAD/CAM นั้น สามารถใช้ในการออกแบบและผลิตตัวอุปกรณ์ รวมถึงช่วยในการตกแต่งรูปร่างและขนาดให้มีความเหมาะสม มีความแม่นยำ เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ทันตแพทย์ได้เห็นแบบจำลองตัวอุปกรณ์แบบ 3Dและทดแทนการพิมพ์ฟันแบบดั้งเดิมด้วยภาพแบบ 3Dทำให้ลดความผิดพลาดในการรักษาและยังช่วยลดช่วงเวลาในการรักษาให้สั้นลงได้อีกด้วย
นอกจากทันตกรรมทันตกิจจะมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยแล้ว สถานที่ก็ได้รับการรับรองการปลอดเชื้อในคุณภาพแบบเดียวกับโรงพยาบาล มีการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศและติดตั้งระบบแขนดูดละอองฝอยฟุ้งกระจายของ Alsident การันตีคุณภาพจากประเทศเดนมาร์ค มีการพ่นยาฆ่าเชื้อโรคจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ผู้เข้ารับการรักษาไม่ต้องเป็นกังวลกับภาวะการติดเชื้อภายหลังการรักษา
อย่าปล่อยให้ฟันดีๆที่หายไป ทำให้คุณหมดความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในปัจจุบันการรักษาฟันนั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและไม่ซับซ้อน เพียงแค่ชั่วพริบตา ท่านก็สามารถมีฟันสวยๆกลับคืนมาได้ สิ่งที่ตามมาอาจเป็นความมั่นใจ ความสุขในชีวิต หรือโอกาสดีๆต่างๆที่คุณอาจคาดไม่ถึง
ลองให้โอกาสทันตกรรมทันตกิจ คืนชีวิตดีๆเหล่านั้นให้คุณสิคะ…
ติดต่อเข้ารับการปรึกษาปัญหาด้านทันตกรรมกับเราวันนี้ รับไปเลยส่วนลด 10% ฟรี! สำหรับทุกการรักษา
อ้างอิง:
http://www.ldcdental.com/2016/02/17/17-02-59-tooth-bridge/
https://www.thantakit.com/th/dental-crowns-and-bridges/
https://www.healthline.com/health/dental-bridge
https://westcoastinternational.com/dental-bridge