Page Contents
รู้จักกับโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบที่หลายคนอาจมองข้ามไป
เมื่อพูดเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ผู้คนส่วนใหญ่จะคิดถึงปัญหาเรื่องฟันผุ แต่ในความเป็นจริงแล้วโรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของสุขภาพช่องปากที่สร้างความกังวลให้กับหลายๆ คน โรคปริทันต์ คือ โรคที่เกี่ยวกับอวัยวะรอบฟัน ซึ่งหมายถึงเหงือกและเบ้าฟันนั่นเอง เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของอวัยวะที่อยู่รอบๆ ตั วฟัน เช่น กระดูกเบ้าฟัน เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกวิธี อวัยวะต่างๆ เหล่านี้จะถูกทำลายไปอย่างช้าๆ และจะต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด
โรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร
โรคปริทันต์ หรือโรคเหงือกอักเสบจัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ลักษณะของโรคปริทันต์อักเสบ คือ เหงือกไม่ยึดกับฟัน ร่วมกับมีการทำลายกระดูกที่รองรับตัวฟัน จนเกิดอาการอักเสบ โดยส่วนมากไม่แสดงอาการในระยะแรก ที่ผ่านมาพบว่าสาเหตุหลักที่ทำเกิดโรคปริทันต์ คือ คราบจุลินทรีย์ (Bacterial Plaque) ซึ่งเจ้าคราบจุลินทรีย์นี้ จะเกิดขึ้นหลังจากการแปรงฟังแล้วประมาณ 2-3 นาที โดยจะเกาะตัวอยู่กับร่องเหงือก ซอกฟันและตัวฟัน และจะสะสมปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไปจุลินทรีย์จะนำน้ำตาลไปใช้ในการสร้างกรดนำไปสู่การย่อยสลายสารเคลือบฟันและเหงือก จนทำให้เกิดปัญหาเหงือกอักเสบและทำให้ฟันผุในที่สุด นอกจากคราบจุลินทรีย์แล้ว ยังมีคราบหินปูนหรือหินน้ำลายที่เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ นอกจากนี้ โรคปริทันต์ยังอาจเกิดจากสาเหตุร่วมอื่นๆ เช่น มีเศษอาหารติดแน่นหรือค้างตามซอกฟัน และตัวฟัน การมีขอบวัสดุอุดฟันเกินออกมา ทำให้เป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์ และขัดขวางการทำความสะอาด เช่น ทำให้เส้นใยไนล่อนขาดระหว่างการทำความสะอาดซอกฟัน การมีฟันปลอมที่หลวมหรือแน่นเกินไป เป็นต้น
โรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ มีกี่ประเภท
โรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะคือ
ระยะที่ 1 เหงือกอักเสบ มีลักษณะบวม แดง มักพบมีเลือดออกบริเวณคอฟัน ในบางรายโรคอาจลุกลาม โดยพบว่ามีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน และกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ
ระยะที่ 2 โรคปริทันต์เหงือกอักเสบระยะต้น ระยะที่เริ่มมีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน ไม่เกิน 1 ใน 3 ซี่ฟัน
ระยะที่ 3 โรคปริทันต์เหงือกอักเสบระยะกลาง เป็นระยะที่มีการทำลายกระดูกรองรับรากฟัน จาก 2 ใน 3 ของซี่ฟัน แต่ยังไม่ถึงปลายราก
ระยะที่ 4 โรคปริทันต์เหงือกอักเสบระยะปลาย ระยะที่การทำลายกระดูกรองรับรากฟัน ทั้งซี่ฟันจนถึงปลายรากทำให้เกิดฝีปลายรากมีอาการปวดร่วมด้วย ทำให้เหงือกร่น และอาจต้องถอนฟัน
ระยะที่ 5 ระยะสุดท้าย เนื่องจากมีการละลายของกระดูกเบ้าฟันมากจนเกือบถึงปลายรากฟัน จะพบว่าโยกมาก เพราะไม่มีกระดูกมายึดไว้ซึ่งในขั้นนี้แพทย์จะทำการถอนฟันซี่นั้นออก เพื่อป้องกันการติดเชื้อลุกลามไปยังฟันซี่อื่น ๆ
การรักษาโรคปริทันต์นั่น จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและจะเริ่มต้นรักษาอย่างจริงจังในรายที่ผู้ป่วยมีอาการหนักถึงขั้นมีการละลายของกระดูกแล้ว ซึ่งก็คือฟันผุแล้วนั่นเอง ซึ่งแบ่งการรักษาออกเป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะควบคุมโรค ผู้ป่วยพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนและเกลารากฟัน ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาในการรักษาหลายครั้ง ขึ้นอยู่กับอาการของโรคปริทันต์ของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น ร่องลึกปริทันต์ และปริมาณหินน้ำลายใต้เหงือก
2. ระยะแก้ไข กรณีผู้ป่วยในระดับรุนแรงที่มีปริมาณคราบหินปูนใต้เหงือกเป็นจำนวนมาก ทันตแพทย์ไม่สามารถกำจัดได้หมด จำเป็นจะต้องทำการผ่าตัดเหงือกในบริเวณดังกล่าวด้วย บางกรณีที่เหมาะสมทันตแพทย์อาจจะทำศัลยกรรมปลูกกระดูกทดแทนด้วย
3. ระยะคงสภาพ คือ ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยต้องหมั่นดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นประจำด้วยการทำความสะอาดภายในช่องปากอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ รวมทั้งพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนเป็นประจำทุก 3-6 เดือน
วิธีการดูแลช่องปากที่ถูกวิธีเพื่อป้องกันโรคปริทันต์หรือเหงือกอักเสบ
โรคปริทันต์คือโรคที่เกี่ยวข้องการความสะอาดภายในช่องปาก วิธีการป้องกันโรคดังกล่าวได้ดีที่สุด คือ ลดการสะสมของจุลินทรีย์ และทำลายที่อยู่ของเชื้อแบคทีเรีย ภายในช่องปาก ด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือทุกครั้งหลังจากรับประทานอาหาร รวมกับการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ลดการรับทานขนมหวาน งดสูบบุหรี่ การใช้ไหมขัดฟัน การพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือนเพื่อตรวจสุขภาพในช่องปาก และทำความสะอาดฟันในบริเวณที่เราไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง และรับการรักษาระยะเริ่มแรกก่อนที่เราจะต้องสูญเสียฟันของเราไปเนื่องจากโรคฟันผุ และโรคปริทันต์ เพียงเท่านี้เราก็จะมีสุขภาพฟันและเหงือกที่ดีตลอดไป