ฟันคุด ฟันเจ้าปัญหาที่สร้างความเจ็บปวดให้ใครหลายคน เพราะสามารถทำให้เกิดอาการฟันคุดต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น เจ็บฟันคุด ฟันคุดผุ เหงือกบวม หรือเหงือกอักเสบ เมื่อทันตแพทย์ตรวจพบฟันคุดแล้ว ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผ่า หรือถอนฟันคุดออก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ ฟันคุดอาจทำให้เกิดปัญหาฟันอื่น ๆ ตามมาได้
อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่ประวิงเวลา ไม่อยากไปผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุดออก เพราะกลัวความเจ็บปวด เพื่อให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถสังเกตอาการฟันคุดและเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที เราได้รวบรวม 5 อาการฟันคุดที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะต้องรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อผ่าออกอย่างเร่งด่วน จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
Page Contents
อาการฟันคุดเกิดขึ้นได้ยังไง
ฟันคุด คือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ เพราะมีฟัน เนื้อเยื่อ หรือกระดูกปิดขวางอยู่ มักพบบริเวณฟันกรามซี่สุดท้าย และฟันเขี้ยว โดยฟันคุดอาจโผล่ขึ้นมาบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่เลยก็ได้
เมื่อเกิดฟันคุดขึ้นแล้ว ทันตแพทย์จะแนะนำให้รีบถอน หรือผ่าฟันคุดออก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดโรคฟันต่าง ๆ ตามมาได้ เช่น ฟันซ้อนเก ถุงน้ำรอบฟันคุด เหงือกอักเสบ ฟันคุดผุ หรือฟันข้างเคียงผุ ซึ่งควรส่วนใหญ่กว่าจะรู้ตัวก็เกิดอาการฟันคุดต่าง ๆ แล้วนั่นเอง
5 อาการฟันคุดที่ควรถอนเร็วที่สุด
1. มีอาการปวดอย่างรุนแรง
อาการเจ็บปวดฟันคุดอย่างรุนแรง เป็นอาการฟันคุดที่บ่งบอกว่า ฟันคุด หรือเหงือกบริเวณนั้นเกิดการติดเชื้อ ยิ่งมีการติดเชื้อรุนแรงมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เกิดอาการเจ็บปวดมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเกิดอาการเจ็บปวดฟันคุดอย่างรุนแรง จึงควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที โดยทันตแพทย์อาจรักษาด้วยการถอน หรือผ่าฟันคุดออก ร่วมกับรักษาอาการติดเชื้อ และให้ยาบรรเทาอาการปวด
2. ฟันขึ้นจนซ้อนเกกัน
เมื่อฟันคุดเติบโตขึ้นมาเรื่อย ๆ จะทำให้เกิดแรงดันไปที่ฟันซี่ข้างเคียง ซึ่งอาจขึ้นชนฟันที่อยู่ข้างเคียงจนทำให้ฟันหน้าซ้อนเก ฟันข้างเคียงเคลื่อน หรือทำให้เกิดแรงกดทับเส้นประสาทที่อยู่ในขากรรไกรล่างได้ ผลที่ตามมาก็คือจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดฟันคุดมาก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะต้องรีบผ่าฟันคุดออก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายกับฟันข้างเคียงได้
3. เกิดฟันคุดผุ และอาจลามไปถึงซี่อื่น
ฟันคุด เป็นฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้หมด และมักจะอยู่ในบริเวณที่ยากจะทำความสะอาด จึงทำให้มีโอกาสที่เศษอาหารจะไปสะสม ทำให้เกิดคราบหินปูน และฟันคุดผุมากกว่าซี่อื่น ๆ อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหากลิ่นปากตามมาได้ด้วย เมื่อเกิดอาการฟันคุดนี้ขึ้นแล้ว ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผ่า หรือถอนออกทันที เพราะแสดงว่าเราไม่สามารถทำความสะอาดฟันบริเวณนั้นได้ดีพอ หากรักษาด้วยการอุดฟันก็อาจทำให้เกิดฟันคุดผุซ้ำได้ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฟันข้างเคียงผุด้วย
4. เกิดฟันคุดเหงือกบวม
ผลข้างเคียงของฟันคุดสามารถทำให้เหงือกบวมได้เช่นกัน เพราะฟันคุดเป็นฟันที่ทำความสะอาดได้ยาก มักมีเศษอาหารไปตกค้างอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟันนั้น ๆ อยู่ ซึ่งทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย คราบหินปูน จนนำไปสู่การติดเชื้อ และทำให้เหงือกอักเสบได้ ซึ่งในบางรายอาจมีอาการเหงือกอักเสบเรื้อรัง หรือเหงือกอักเสบรุนแรง นอกจากจะมีอาการบวมแดงแล้ว ยังอาจมีหนอง เป็นไข้ เจ็บคอ กลืนน้ำลายลำบาก และอ้าปากไม่ได้ร่วมด้วย ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นว่าบริเวณฟันคุดมีเหงือกบวม ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที
5. อาการฟันคุดที่เกิดถุงน้ำ
ฟันคุดสามารถทำให้เกิดถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรได้ โดยถุงน้ำจะค่อย ๆ พองใหญ่ขึ้น เบียดกินกระดูกขากรรไกร ทำให้ฟันเคลื่อนที่ผิดจากตำแหน่งเดิม และเกิดการละลายกระดูกรอบฟันได้ และที่อันตรายที่สุด ถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรอาจเปลี่ยนไปเป็นเนื้องอกที่เรียกว่า “มะเร็งกรามช้าง” ได้อีกด้วย ซึ่งอาจทำให้ต้องตัดกระดูกขากรรไกรบางส่วนออก ส่งผลให้รูปหน้าเปลี่ยนไปได้ ดังนั้นเมื่อตรวจพบถุงน้ำในกระดูกขากรรไกรจึงควรรีบผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุดออกโดยเร็วที่สุด
หลังถอนฟันคุดควรดูแลยังไง
หลังจากที่ถอนฟันคุด หรือผ่าฟันคุดเสร็จแล้ว จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย และทำให้กระบวนการฟื้นตัวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ดังนี้
- หลังถอนฟันคุดเสร็จ จะต้องกัดผ้าก็อซอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ในระหว่างนั้นห้ามบ้วนเลือดหรือน้ำลายเด็ดขาด เพราะอาจทำให้แผลเปิดและเลือดไม่หยุดไหลได้
- หลังจากคายผ้าก๊อซออกแล้ว หากยังมีเลือดอยู่ สามารถเปลี่ยนผ้าก๊อซวางไว้ที่เดิม และกัดผ้าก๊อซต่อไปอีกประมาณ 15 นาทีได้
- สามารถประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มข้างที่ถอนฟันคุด ใน 24 – 48 ชั่วโมงหลังการถอนฟันคุดเพื่อบรรเทาอาการปวดบวมได้
- ในคืนแรกหลังถอนฟันคุด แนะนำให้นอนหมอนสูง หรือใช้หมอนสองใบหนุนนอนจะช่วยลดอาการบวมได้
- รับประทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะตามที่ทันตแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันการเกิดอาการติดเชื้อ
- ควรรับประทานอาหารอ่อนในระหว่างที่พักฟื้น เช่น โจ๊กหมูเด้ง ซุปฟักทอง ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง หรือแกงจืดเต้าหู้หมูสับ และใช้ฟันอีกข้างเคี้ยว เพื่อป้องกันการเกิดอาการระคายเคือง
- สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ตามปกติ แต่ให้เว้นบริเวณแผลผ่าตัด และหลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำแรง ๆ
- หากมีอาการบวมมากผิดปกติเกินกว่า 3 – 4 วัน หรือมีหนอง หรือมีไข้ นั่นอาจเป็นสัญญาณของอาการติดเชื้อ ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที
ฟันคุด อาจทำไม่ทำให้เกิดอันตรายทันที แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ก็อาจทำให้เกิดอาการฟันคุดต่าง ๆ ตามมาได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำให้การรักษายุ่งยากขึ้นตามไปด้วยได้ อย่ารอให้เกิดอาการเจ็บฟันคุด ฟันคุดผุ หรือฟันคุดมีเหงือกบวม ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา และถอน หรือผ่าฟันคุดออกตั้งแต่เนิ่น ๆ นัดวันและเวลาปรึกษากับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาฟันคุด จากศูนย์ทันตกรรมทันตกิจได้เลย