Page Contents
รู้จักกับ ยาแก้ปวดฟัน พร้อมวิธีเลือกใช้อย่างถูกต้อง
เมื่อมีอาการเหงือกบวม เมื่อมีอาการเหงือกบวม เหงือกอักเสบ หรือปวดฟันมาก ๆ การไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถไปพบทันตแพทย์ได้ทันที หรือเมื่อไปพบทันตแพทย์แล้วก็ต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจหาสาเหตุ ซึ่งบางคนอาจไม่สามารถทนกับอาการปวดที่เกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้การใช้ ยาแก้ปวดฟัน เหงือกบวม เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การรับประทานยาแก้ปวดฟันมีความสำคัญอย่างไร?
ปกติแล้ว การที่เราไปหาทันตแพทย์หลังจากที่มีอาการปวดฟันรุนแรง หรือเหงือกบวม จะไม่สามารถรักษาได้ทันที เพราะจะต้องวิเคราะห์หาสาเหตุก่อน เพื่อที่จะได้รักษาอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ โดยอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฟันผุ ฟันแตก เหงือกอักเสบ รากฟันอักเสบ หรือติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคเหงือกจะต้องตรวจหาสาเหตุ อาจใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ในคนไข้ที่มีอาการปวดฟันมาก ๆ อาจไม่สามารถทนได้ จนทำให้ตรวจอาการได้ยากขึ้น ทันตแพทย์ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดฟัน เหงือกบวม เพื่อบรรเทาอาการชั่วคราวก่อน ซึ่งจะช่วยให้คนไข้รู้สึกดีขึ้น และสามารถทนต่อกระบวนการรักษาได้
นอกจากนี้การใช้ยาแก้อาการปวดฟันยังมีส่วนช่วยในคนที่มีอาการปวดฟันมาก ๆ แต่ยังไม่สามารถมาพบทันตแพทย์ทันทีด้วย โดยจะช่วยให้สามารถรับมือกับอาการปวดที่เกิดขึ้นได้ชั่วคราวจนกว่าจะมีเวลาไปพบทันตแพทย์นั่นเอง
ยาแก้ปวดฟันมีกี่ประเภท?
ยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดฟันส่วนใหญ่จะสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป, เซเว่น-อีเลฟเว่น (7-Eleven), วัตสัน (Watson), บู๊ทส์ (Boots) หรือห้างสรรพสินค้า โดยจะมีทั้งยาที่ใช้บรรเทาอาการปวดไม่รุนแรงไปจนถึงปวดรุนแรงมาก ซึ่งผู้ที่มีอาการปวดฟันควรปรึกษาทันตแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา ไม่ควรซื้อยามาใช้ด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดการใช้ยาผิดประเภท หรือเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้
สำหรับประเภทยาแก้ปวดฟันที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมี 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)
ยาพาราเซตามอล เป็นยาสามัญประจำบ้านที่ใช้ลดไข้ และบรรเทาอาการปวดทั่วไปในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดฟัน ปวดเมื่อยตัวจากไข้หวัด หรือปวดประจำเดือน โดยขนาดการใช้ยาจะอยู่ที่ 10 – 15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อ 1 ครั้ง ทั้งนี้ไม่ควรรับประทานเกินขนาดเพราะอาจทำให้เกิดพิษร้ายแรงต่อตับได้
สำหรับใครที่ไม่อยากคำนวณขนาดยา สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลตามนี้ได้
- ในผู้ใหญ่ : รับประทานยาครั้งละ 1 – 2 เม็ด ทุก 4 – 6 ชั่วโมง โดยไม่ควรรับประทานยาเกิน 8 เม็ดต่อวัน หรือ 4 กรัม/วัน และไม่ควรรับประทานยาต่อเนื่องเกิน 5 วัน
- ในเด็ก ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย หรือผู้ที่เป็นโรคตับ : จะต้องปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
2. ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือ “NSAIDs”
ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือเอ็นเสด (NSAIDs) มีหลายชนิด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen), พอนสแตน (Ponstan), ไพร็อกซิแคม (Piroxicam) หรือ (Diclofenac) เป็นต้น เป็นยาที่นำมาใช้บรรเทาอาการปวดที่มีระดับปานกลางไปจนถึงมาก โดยบางชนิดสามารถใช้เป็นยาลดไข้ได้ด้วย
ยาในกลุ่มนี้นั้น จะออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไซโคลออกซิจีเนส (Cyclooxygenase) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ค็อกซ์ (COX) โดยจะมีทั้งค็อกซ์ – 1 (COX-1) และค็อกซ์ – 2 (COX-2) ซึ่งเอนไซม์ค็อกซ์ – 2 จะทำหน้าที่สร้างพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ที่ทำให้เกิดอาการปวด การรับประทานยาเอ็นเสดเพื่อยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ค็อกซ์ – 2 จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ยาเอ็นเสดอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และมีผลข้างเคียงที่อันตรายอย่างการลดประสิทธิภาพการทำงานของไต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่อาจทำให้ไตเสื่อมจนถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการฟอกไต จึงไม่สามารถซื้อยามารับประทานได้เองเหมือนกับยาพาราเซตามอล และจำเป็นที่จะต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนทุกครั้ง
3. ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole)
ยาเมโทรนิดาโซล เป็นยาปฏิชีวนะที่สามารถใช้ต้านเชื้อแบคทีเรียในร่างกายได้ สามารถนำมาใช้รักษาโรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลากหลายชนิด ในผู้ที่มีอาการปวดฟันและเหงือกบวมจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน ทันตแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาตัวนี้เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย โดยจะรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง ตามระยะเวลาที่ทันตแพทย์สั่ง
อย่างไรก็ตาม ยาเมโทรนิดาโซลอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร และอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ จึงจำเป็นที่จะต้องรับประทานยาตามที่ทันตแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และไม่ควรซื้อยามารับประทานด้วยตนเอง
4. ยาเบนโซเคน (Benzocaine)
ยาเบนโซเคน เป็นยาชาเฉพาะที่ที่สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดแผลในปาก ปวดฟัน ปวดเหงือก หรืออาการปวดหูชั้นกลาง โดยจะมีทั้งในรูปแบบของยาอม ยาหยอด ยาครีม ยาผง หรือสเปรย์ จัดเป็นยาที่มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างอันตราย ไม่สามารถซื้อมาใช้เองได้ ต้องจ่ายโดยเภสัชกร หรือทันตแพทย์เท่านั้น
5. ยาในกลุ่มต้านเชื้อแบคทีเรีย หรือแก้อักเสบ
ในคนที่มีอาการปวดฟัน เหงือกบวม และมีหนองร่วมด้วย นั่นเป็นสัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรีย ทันตแพทย์จะจ่ายยาต้านเชื้อแบคทีเรียเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากด้วย มีหลายชนิด เช่น อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin), เพนนิซิลิน (Penicillin), เตตร้าซัยคลิน (Tetracyclines) หรือเลโวฟล็อกซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น
การรับประทานยาในกลุ่มนี้นั้น จะต้องใช้ให้ครบปริมาณที่กำหนด ไม่ควรซื้อมารับประทานด้วยตนเอง เพราะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดเชื้อดื้อยาจนต้องใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรียที่มีฤทธิ์รุนแรงขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ใช้ยาได้มาก
ควรเลือกใช้ ยาแก้ปวดฟัน ยี่ห้อไหนดี?
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่า ยาแก้อาการปวดฟันแต่ละประเภทจะเหมาะสำหรับอาการปวดที่มีความรุนแรงต่างกัน การเลือกยี่ห้อยาแก้ปวดจึงต้องดูที่ระดับความรุนแรงของอาการปวดเป็นหลัก เช่น ใช้ยาพาราเซตามอลในผู้ที่มีอาการปวดฟันเล็กน้อย แต่ถ้าปวดมากจนไม่สามารถบรรเทาได้ก็ให้ใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs แทน เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีอาการปวดฟันควรที่จะปรึกษาทันตแพทย์ หรือเภสัชกรเพื่อเลือกใช้ยี่ห้อยาแก้อาการปวดฟันที่เหมาะสมกับตนเองที่สุด
แนะนำวิธีบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตนเอง
เมื่อเกิดอาการปวดฟัน หรือเหงือกบวมแล้ว ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาที่ต้นตอ แต่ถ้ายังไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ทันที ผู้ที่มีอาการปวดฟันสามารถบรรเทาอาการปวดฟันด้วยตนเองด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- รับประทานยาแก้ปวดฟัน เหงือกบวม ที่เภสัชกรแนะนำ เพื่อบรรเทาอาการในเบื้องต้น
- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้ฟันผุและเสี่ยงเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ในช่องปาก เช่น อาหารเย็นจัดอย่าง ไอศกรีม หรือน้ำแข็ง อาหารร้อนจัด อย่างชาร้อน กาแฟร้อน หรือแกงร้อน ๆ รวมถึงอาหารที่มีรสชาติเปรี้ยวจัด และหวานจัดด้วย
- รับประทานอาหารอ่อน ๆ ที่ไม่ต้องออกแรงเคี้ยวมาก เพื่อลดการกระทบกระแทกของฟันซี่ที่มีปัญหา
- กลั้วปากด้วยน้ำเกลือเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและลดอาการปวด โดยจะใช้น้ำเกลือที่มีขายในร้านขายยา หรือใช้เกลือผสมกับน้ำอุ่นก็ได้
- สามารถใช้น้ำมันกานพลูชุบสำลีแล้วอุดฟันซี่ที่ปวดเพื่อลดอาการปวดฟันได้ แต่ควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เหงือก และเนื้อเยื่อในโพรงฟันเสียหายได้
- แปรงฟันให้สะอาด และใช้ไหมขัดฟันกำจัดเศษอาหารที่อาจตกค้างอยู่ตามบริเวณซอกฟัน
อาการปวดฟันและเหงือกบวมนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะไม่สามารถหายได้เอง จำเป็นต้องรักษาโดยทันตแพทย์ ดังนั้นหลังจากที่บรรเทาอาการปวดฟันด้วยยาแก้ปวดฟัน เหงือกบวม แล้ว ผู้ที่มีอาการปวดฟันควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษาด้วยวิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจทำให้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรงขึ้นจนไม่สามารถรักษาได้ และจำเป็นที่ต้องถอนฟันในที่สุด
สำหรับใครที่ยังไม่รู้จะไปคลินิกทันตกรรมไหนดี สามารถขอคำปรึกษาที่ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจได้ เรามีทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้การดูแลทุกเคสด้วยความใส่ใจ มั่นใจได้เลยว่าอาการปวดฟันของคุณจะได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสมอย่างแน่นอน