Page Contents
แปรงฟันทุกวัน ทำไมถึงเกิดอาการฟันผุ
สุขภาพช่องปาก เป็นเรื่องที่เราควรต้องให้การดูแลอย่างมาก แต่บางครั้งก็มักเกิดอาการปวดฟัน ฟันผุได้ เพราะอาการฟันผุสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แม้ว่าในทุกวันเราจะทำการแปรงฟันอยู่แล้ว ก็สามารถเกิดอาการปวดฟัน เพราะฟันผุได้ แต่เมื่อมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที หากปล่อยไว้ฟันอาจจะผุเป็นวงกว้างจนไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้นเราต้องไปศึกษากันก่อนว่าอาการฟันผุเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง เพื่อป้องกันอาการปวดฟัน ฟันผุที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
อาการฟันผุเกิดจากอะไร
อาการฟันผุนั้น เกิดจากการตัวแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปาก เศษอาหาร และ น้ำลาย สะสมรวมตัวกันจนเป็นคราบเหนียว มักจะติดอยู่ตามซอกฟัน และแบคทีเรียเหล่านี้จะเปลี่ยนสภาพน้ำตาลและแป้งให้กลายเป็นกรด ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายแร่ธาตุที่พื้นผิวของฟัน จนผิวฟันกลายเป็นรู โดยที่ในระยะแรกจะเป็นเพียงรูขนาดเล็ก และหากปล่อยทิ้งไว้จะลุกลามใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นอาการฟันผุได้
แปรงฟันทุกวันแล้ว ทำไมยังเกิดอาการฟันยังผุได้
การแปรงฟันทุกวันแล้วยังเกิดอาการฟันผุ อาจมีสาเหตุหลัก ๆ ที่เกิดจากการแปรงฟัน คือแปรงฟันทุกวันก็จริง แต่แปรงผิดวิธี ถึงจะแปรงฟันวันละสองครั้ง แต่แปรงไม่ได้ประสิทธิภาพ แปรงไม่สะอาด ก็ทำให้เกิดการปวดฟัน ฟันผุได้ ทางที่ดีคือหลังจากแปรงฟันแล้วควรมีการใช้ไหมขัดฟัน เพราะในบางครั้งอาจมีเศษอาหารเล็ก ๆ ที่ติดอยู่ตามซอกฟันทำให้การแปรงฟันอาจทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง การใช้ไหมขัดฟันจะช่วยทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันได้ดีกว่าแปรงสีฟัน และช่วยลดสาเหตุของการเกิดอาการฟันผุได้เป็นอย่างดี
จะรู้ได้อย่างไรว่ามีอาการฟันผุ
สามารถสังเกตอาการฟันผุได้ดังนี้คือ
- อาการฟันผุจะมีการพบ รู หรือ รอยผุ ที่บริเวณผิวฟัน จากการสังเกตดูว่าพื้นผิวฟัน มีจุดสีดำขึ้นบนผิวฟันหรือไม่ แต่บางครั้งก็อาจมองไม่เห็น ถ้าเกิดรอยผุอยู่บริเวณซอกฟัน จึงต้องมีการตรวจเช็กสภาพช่องปากทุก ๆ 3 หรือ 6 เดือน เพราะหากตรวจเจออาการฟันผุ จะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที
- อาการฟันผุจะรู้สึกเสียวฟันมากขึ้น ตอนดื่ม หรือรับประทานอาหารร้อนจัด หรือ เย็นจัด เป็นต้น
- รู้สึกปวดฟันมาก ๆ ในตำแหน่งเดิม ๆ
- รู้สึกว่ามีเศษอาหารติดบริเวณซอกฟัน บ่อยมากกว่าเคย
ระดับความรุนแรงของอาการปวดฟัน ฟันผุ
1. อาการฟันผุระยะแรก คือ แบคทีเรียทำปฏิกิริยากับแป้งหรือน้ำตาล ทำให้เกิดกรดที่ทำลายผิวเคลือบฟัน เป็นจุดเริ่มต้นของการสูญเสียแร่ธาตุ ซึ่งจะเห็นเป็นคราบสีขาวขุ่นที่ฟัน อาการฟันผุในระยะนี้ยังสามารถรักษาได้โดยง่ายอยู่
2. อาการฟันผุที่มีการผุบริเวณผิวเคลือบฟัน (Enamel) เมื่อมีการสูญเสียแคลเซียมต่อไปเรื่อย ๆ จะทำให้ผิวเคลือบฟันเสื่อมสลาย อาการฟันผุในระยะนี้ควรได้รับการดูแลรักษาโดยทันตแพทย์ หากปล่อยไว้อาจลุกลามได้
3. อาการฟันผุที่เนื้อฟัน (Dentin) คือ อาการผุจากผิวเคลือบฟันได้ลุกลามลึกเข้าไปถึงเนื้อฟัน ซึ่งในระยะนี้ จะสามารถขยายอาการฟันผุไปยังฟันซี่อื่น ๆ ได้ จึงต้องรีบพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็ว
4. อาการฟันผุที่ผุลุกลามไปยังโพรงประสาทฟัน (Dental Pulp) ถ้าหากอาการปวดฟัน ฟันผุไม่ได้รับการรักษา จะทำให้การผุลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน ที่เป็นแหล่งรวมของเส้นประสาทมากมาย และอาจเกิดฝีที่ปลายรากฟันได้ ถ้าหากโพรงประสาทฟันเกิดการติดเชื้อ
แนวทางการรักษาอาการฟันผุ
อย่างแรกคือ ต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจเช็กฟันสภาพฟันและช่องปากเบื้องต้น เพื่อหาสาเหตุของอาการของฟันผุ ซึ่งหลัก ๆ แล้วจะมีแนวทางรักษา ดังต่อไปนี้
1. ทำการอุดฟัน เมื่อเห็นเป็นรูชัดเจน อยู่ในระยะที่มีการทำลายเฉพาะถึงส่วนเนื้อฟัน
2. ทำการรักษารากฟัน หากมีการผุลุกลามเข้าไปถึงโพรงประสาทฟัน
3. ทำการถอนฟัน เมื่ออาการฟันผุ ที่มีการอักเสบลุกลาม จนไม่เหลือเนื้อฟันที่จะสามารถรักษาฟัน ไว้ได้
วิธีการป้องกันอาการฟันผุ
วิธีการป้องกันอาการฟันผุมี 3 ขั้นตอนง่าย ๆ คือ
1. แปรงฟัน อย่างถูกวิธี และอย่างน้อยต้องแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า และ ก่อนเข้านอน หรือแปรงทุกครั้งหลังมื้ออาหาร ก็จะช่วยป้องกันอาการฟันผุได้
2. วิธีการป้องกันอาการฟันผุ อีกอย่างคือ ใช้ไหมขัดฟัน เป็นประจำทุกวัน ช่วยลดการสะสมเศษอาหารที่ก่อให้เกิดอาการปวดฟัน ฟันผุได้
3. ควรพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน
สรุปแล้ว ทำไมถึงเกิดอาการฟันผุ และควรรักษาอย่างไร
การรักษาอาการฟันผุได้อย่างทันท่วงที คือ ต้องหมั่นสังเกตอาการให้ดี หากสงสัยหรือไม่แน่ใจ ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็ก หากมีอาการปวดฟัน ฟันผุ จะได้รักษาได้ทันที รวมไปถึงการดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากก็สำคัญไม่แพ้กัน ควรศึกษาการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และควรมีการใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย เพื่อการทำความสะอาดฟันที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด