ไขข้อสงสัยการตัดเหงือกคืออะไร จำเป็นหรือไม่ที่ต้องตัดออก

บางครั้งการมีอะไรที่มากไปหรือน้อยไปก็ไม่ใช่เรื่องดี “เหงือก” ก็เช่นกัน เหงือกที่มีสุขภาพดีย่อมส่งผลดีต่อภาพรวมภายในช่องปาก แต่บางครั้งเหงือกที่เยอะเกินไป นอกจากจะทำให้รอยยิ้มของเราดูไม่สวยงามแล้ว ยังเป็นสาเหตุสุขภาพภายในช่องปากของเรามีปัญหาได้ หลายคนคงเกิดคำถามว่าตัดเหงือกเจ็บไหม หรือมีปัญหาสงสัยเกี่ยวกับการผ่าตัดเหงือกอยู่มากมาย วันนี้เราจะมาตอบทุกข้อสงสัยให้เอง

การตัดเหงือกคืออะไร

การตัดเหงือก (Gum Contouring Surgery) หรือการศัลยกรรมตัดแต่งเหงือก เป็นการผ่าตัดเหงือกส่วนเกินที่โต หรือยื่นกว่าปกติออกไป ด้วยเครื่องมือทางทันตกรรม เพื่อให้เหงือกดูเสมอกัน ที่ให้ฟันของเราดูยาวขึ้น ทำให้การผ่าตัดเหงือกเป็นวิธีการศัลยกรรมแต่งเหงือก เพื่อรักษาในอาการอื่น ๆ ต่อไป เช่น อาการเหงือกโต, การทําวีเนียร์ , การรักษารากฟัน รวมไปถึงการผ่าฟันคุด

สาเหตุหลักที่จำเป็นต้องตัดเหงือก

นอกจากปัญหา Gummy Smile ที่เกิดจากเหงือกยื่น หรือปัญหา Short Teeth ฟันที่พ้นเหงือกออกมามีขนาดเตี้ยสั้นเพราะเหงือกลงมาปิด ซึ่งส่งผลต่อบุคลิกภาพและความมั่นใจแล้ว เหงือกที่โตหรือเยอะเกินไป ยังทำให้เกิดปัญหา การขึ้นของฟันไม่สมบูรณ์ (Delayed Passive Eruption) ทำให้ฟันดูเตี้ย, ปัญหาฟันมีรอยผุ รอยแตก ซ่อนอยู่ใต้ขอบเหงือก ฯลฯ ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคปริทันต์ในอนาคต
ส่วนผู้ที่มีปัญหาโรคเหงือก อาทิ เหงือกร่น เหงือกอักเสบ เหงือกบาดเจ็บ ปัญหาร่องเหงือกลึก ฯลฯ ทันตแพทย์มักแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการตัดเหงือก เพื่อลดความเสียหายและลดการลุกลามของปัญหา ทั้งยังช่วยให้ทำความสะอาดฟันได้ง่ายขึ้น

วิธีผ่าตัดเหงือกมีกี่วิธี

  • การผ่าตัดเหงือกมีอยู่ 2 วิธี ดังนี้

1.ตัดด้วยมีด

การผ่าตัดเหงือกด้วยมีด แพทย์จะใช้มีดตัดเหงือกส่วนเกินออกไป โดยเมื่อผ่าตัดเสร็จจะทำการเย็บปิดแผลเอาไว้ และนัดคนไข้มาตัดไหมออกในภายหลัง ซึ่งวิธีผ่าตัดเหงือกด้วยมีดนี้ แพทย์จะต้องมีประสบการณ์และมีความชำนาญ เพราะการผ่าตัดเหงือกด้วยมีดจะมีเลือดออกค่อนข้างมาก เสี่ยงต่อการติดเชื้อง่ายและใช้เวลาพักพื้นที่ยาวนาน

2.ตัดด้วยเลเซอร์

เป็นวิธีผ่าตัดเหงือกที่ได้รับความนิยมมากกว่าการผ่าตัดด้วยมีด เพราะแผลมีขนาดเล็ก มีเลือดออกน้อยกว่าเพราะขณะผ่าตัดเครื่องมือสำหรับการผ่าตัดเหงือกด้วยเลเซอร์สามารถห้ามเลือดได้ทันที ทำให้ไม่ต้องเย็บแผล ไม่ต้องพักฟื้น และที่สำคัญ คือ เจ็บน้อยกว่าการตัดด้วยมีด

ข้อดีและข้อเสียของการตัดเหงือก

ข้อดีของการตัดเหงือก

  • ทำให้บุคลิกภาพดูดีขึ้น เพิ่มความสวยงามและความมั่นใจในการยิ้มให้มากขึ้น ริมฝีปากจะดูอูมน้อยลง
  • ช่วยแก้ไขปัญหาโรคเหงือกต่าง ๆ เช่น เหงือกร่น เหงือกอักเสบ ติดเชื้อ ปัญหาร่องเหงือกลึกเกินไป เป็นต้น
  • ทำให้สามารถทำความสะอาดฟันได้ง่ายขึ้น ป้องกันรากฟันผุจากการทำความสะอาดไม่ทั่วถึงได้
  • ทำให้การรักษารากฟัน ครอบฟัน ในคนไข้ที่มีฟันผุ หรือฟันแตกอยู่ใต้เหงือก สามารถบูรณะฟันได้อย่างสมบูรณ์

ข้อเสียของการตัดเหงือก

  • มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เพราะเป็นการผ่าตัดที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ
  • ในการผ่าตัดต้องใช้ยาชาร่วมด้วย เป็นข้อเสี่ยงสำหรับคนไข้ที่อาจแพ้ยาชา แพทย์จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
  • หลังการผ่าตัดเหงือก คนไข้จะต้องดูแลสุขภาพในช่องปากอย่างเคร่งครัดเพราะเสี่ยงต่อการเกิด เหงือกอักเสบ คอฟันสึก หรือเหงือกร่นได้ง่าย

ก่อนตัดเหงือกควรเตรียมตัวอย่างไร

  • ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันโดยละเอียด ซึ่งหากมีหินปูนควรเข้ารับการขูดหินปูนให้สะอาด รักษาอาการเหงือกอักเสบให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อช่องปากมีสุขภาพสมบูรณ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัดเหงือก
  • ปรึกษาแพทย์ในการวางแผนการรักษา เพื่อให้แพทย์ประเมินว่า จำเป็นจะต้องตัดเหงือกกี่ซี่ หรือ ต้องทำการกรอกระดูกฟันด้วยหรือไม่
  • หากมีโรคประจำตัวหรือแพ้ยา ควรแจ้งแก่แพทย์ก่อนเริ่มวางแผนการผ่าตัด
  • งดสูบบุหรี่

วิธีการดูแลหลังผ่าตัดเสร็จ

  • หลังการผ่าตัดเหงือก เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนแผล คนไข้ควรรับประทานอาหารอ่อน รสไม่จัด งดทานอาหารแข็งหรือกรอบจนกว่าแผลจะหายดี
  • ในช่วยที่แผลผ่าตัดเหงือกยังไม่หายดี อาจไม่สามารถแปรงฟันบริเวณที่ผ่าตัดได้ แต่สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อบ้วนทำความสะอาด และใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดบริเวณอื่นได้
  • ใช้คอตตอนบัต ชุบน้ำเช็ดทำความสะอาดบริเวณแผลอย่างเบามือ
  • งดกิจกรรมต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อฟัน เช่น การเคี้ยวของแข็ง การขบฟัน กัดฟัน ซึ่งอาจเกิดจากการพยายามยกของหนัก ออกกำลังกายหนัก
  • รับประทานยาฆ่าเชื้อและยาแก้ปวดตามแพทย์สั่งและเข้ารับการตรวจให้ตรงตามนัด

การตัดเหงือกเป็นหัตถการที่นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาสุขภาพเหงือกแล้ว ยังช่วยแก้ไขปัญหาความสวยงามและเสริมความมั่นใจให้กับผู้ที่เข้ารับการตัดเหงือกได้อีกด้วย แต่หลังจากเข้ารับการผ่าตัดเหงือกแล้ว การดูแลสุขภาพภายในช่องปาก และเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษารอยยิ้มและความมั่นใจให้อยู่กับเราได้นานๆ

ทำนัดหมาย Make an appointment