ถึงแม้ว่าโรคนิ่วทอนซิลจะไม่ได้ถือว่าเป็นโรคอันตรายร้ายแรงและไม่ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ แต่ด้วยอาการของโรคมักส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่หากปล่อยไว้นานก็อาจทำให้รู้สึกทรมานมากยิ่งขึ้นได้ และยังส่งผลต่อบุคลิกภาพของคุณโดยเฉพาะในเรื่องของกลิ่นปาก ที่ไม่สามารถทำให้หายไปจนกว่าจะได้จัดการกับนิ่วทอนซิลนี้ นักวิจัยยังพบว่า ผู้ที่มีปริมาณไอระเหยของสารประกอบซัลเฟอร์หรือกลิ่นปากนี้ 75% จะมีปริมาณสารดังกล่าวที่สูงกว่าคนทั่วไป
Page Contents
ทำความรู้จักกับโรคนิ่วทอนซิล
โรคนิ่วทอนซิล Tonsil stones หรือ Tonsilloliths จะมีลักษณะเป็นก้อนแบคทีเรียหรือเศษซากที่ติดอยู่ในซอกของต่อมทอนซิล ซึ่งอาจจะเป็นเศษแร่ธาตุ เศษอาหาร แบคทีเรียหรือเชื้อรา เนื่องจากต่อมทอนซิลจะเต็มไปด้วยซอกมุมที่แบคทีเรียและเศษต่าง ๆ รวมไปถึงเซลล์ที่ตายแล้ว สามารถไปเกาะติดโดยการดักจับของเมือกบริเวณต่อมทอนชิลจนกลายเป็นก้อน แต่นิ่วทอนซิลไม่ค่อยก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เพราะหลายคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นนิ่วทอนซิล จนกว่าจะเริ่มมีอาการที่อาจบ่งบอกว่าคุณมีความเสี่ยงจะเป็นโรคนี้
อาการของโรคนิ่วทอนซิล
- กลิ่นปาก
อาการหลัก ๆ ที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคนิ่วทอนซิล คือ กลิ่นปากที่รุนแรง หรือกลิ่นปากที่มาพร้อมกับการติดเชื้อของต่อมทอนซิล - เจ็บคอ
เมื่อคุณเป็นนิ่วทอนซิลและมีอาการต่อมทอนซิลอักเสบร่วมด้วย อาจทำให้เกิดการสับสนในการหาสาเหตุของอาการเจ็บคอ เป็นเหตุให้หาวิธีรักษาได้ไม่ตรงจุด - ไอ
เนื่องจากมีก้อนหรือเศษซากไปติดอยู่ที่ทอนซิล อาจทำให้เกิดการระคายเคืองคอ ส่งผลให้เกิดการไอตามมา - เศษสีขาวบริเวณทอนซิล
บางคนอาจสังเกตเห็นได้ถึงนิ่วทอนซิลที่ด้านหลังคอซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีขาว - มีปัญหาในการกลืน
รู้สึกเจ็บหรือลำบากเวลากลืนอาหาร ซึ่งอาการนี้จะขึ้นอยู่กับตำแหน่งหรือขนาดของนิ่วทอนซิลด้วย - ปวดหู
นิ่วทอนซิลสามารถพัฒนาได้ทุกที่ในต่อมทอนซิลเนื่องจากเส้นประสาทที่ใช้ร่วมกัน หากปล่อยไว้นานอาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บที่หูได้ - ต่อมทอนซิลบวม
เมื่อเศษดังกล่าวกลายเป็นก้อนจนเกิดเป็นนิ่วทอนซิล หากปล่อยไว้นานอาจทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ และอาจทำให้ต่อมทอนซิลบวมได้
สาเหตุของโรคนิ่วทอนซิล
ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมของเราเอง โดยเฉพาะการรักษาความสะอาดภายในช่องปากที่ไม่ดีพอหรือไม่ถูกวิธี ไปจนถึงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ การดื่มน้ำไม่เพียงพอ ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดนิ่วทอนซิลได้เช่นกัน อีกทั้งผู้ที่มักเป็นทอนซิลอักเสบ จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดนิ่วทอนซิลได้ง่ายกว่าอีกด้วย
วิธีป้องกันและรักษาโรคนิ่วทอนซิล
- เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าสาเหตุใดบ้างที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคนิ่วทอนซิล เราก็จะรู้วิธีป้องกันและรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งการดูแลและป้องกันการเกิดนิ่วทอนซิลในเบื้องต้นเลยก็คือ
- แปรงฟันให้ถูกวิธีและควรใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วยเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารหรือสิ่งสกปรกที่อาจก่อให้เกิดเป็นก้อนนิ่วได้
- การกลั้วคอด้วยน้ำเกลือหลังรับประทานอาหาร จะช่วยกำจัดเศษอาหารไม่ให้เข้าไปติดในทอนซิล ทำให้รู้สึกไม่ระคายเคืองคอ และการกลั้วคอด้วยน้ำเกลือนี้ยังช่วยกำจัดก้อนนิ่วทอนซิลได้อีกทางหนึ่งด้วย
- หากสังเกตเห็นเศษสีขาวบริเวณทอนซิล แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ในการกำจัดนิ่วออกอย่างถูกวิธี และเพื่อไม่ให้เกิดอาการอักเสบหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาเนื่องจากการพยายามแคะที่ไม่ถูกวิธี
- โรคนิ่วทอนซิลในกรณีที่รุนแรงจนทำให้เกิดอาการเจ็บปวดหรือเป็นปัญหาเรื้อรัง อาจต้องรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดต่อมทอนซิล
ถึงแม้ว่าโรคนิ่วทอนซิลจะไม่ได้ก่อให้เกิดเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรง แต่ก็สร้างความรำคาญ ความเจ็บปวดเรื้อรังได้หากปล่อยเอาไว้นาน อีกทั้งยังเป็นโรคที่หลายคนสามารถเป็นและหายเองได้เช่นกัน แต่ทางที่ดีสำหรับการป้องกันทุกปัญหาช่องปาก คือ การรักษาความสะอาดภายในช่องปากอย่างถูกวิธี และควรไปคลินิกทันตกรรม เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากด้วยอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง