การครอบฟันและสะพานฟัน

การครอบฟัน เป็นการครอบ หรือคลุมฟันที่เสียหายทั้งซี่ เพื่อทำให้ฟันซี่นั้นแข็งแรงขึ้น หรือเพื่อตกแต่งรูปทรงให้ฟันสวยงาม หรือ เป็นระเบียบมากขึ้น การครอบฟันนั้นมักใช้พอร์เซเลน หรือเซรามิก เป็นส่วนประกอบซึ่งสามารถปรับสี ให้เข้ากับ สีฟันตาม ธรรมชาติได้ ส่วนวัสดุอื่นๆ เช่น ทอง และโลหะผสม อาครีลิค และเซรามิก จะมีความแข็งแรง มากกว่าพอร์เซเลน จึงแนะนำให้ใช้สำหรับที่ด้านหลังของฟัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้พอร์เซเลนเชื่อมติด กับภายนอกของโลหะ เพราะโลหะทั้งสองชนิดมีความแข็งแรงมากกว่า

ทันตแพทย์ของคุณสามารถแนะนำให้ทำการครอบฟันเพื่อ:

  • ใช้แทนการอุด ในกรณีที่ฟันซี่นั้นมีบริเวณที่ต้องอุดเยอะมาก เนื้อฟันเหลือน้อยเกินไป
  • ป้องกันฟันที่อ่อนแอจากการแตกร้าว
  • ซ่อมแซมฟันที่แตกร้าว
  • ใช้เป็นที่ยึดฟัน
  • ครอบฟันเพื่อแก้ไขปัญหาสีฟันไม่เท่ากันหรือมีฟันที่มีรูปร่างไม่ดี
  • ครอบฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาก่อน

ชนิดของครอบฟัน

  • ครอบฟันโลหะล้วน(Full Metal Crown: FMC) ครอบฟันโลหะล้วนทำจากโลหะเจือ มีหลายชนิดเช่น ทอง ทองคำขาว พัลเลเดียม นิเกิล-โครเมียม มีความแข็งแรงสูงแต่ความสวยงามต่ำ ทำให้ฟันคู่สบสึกได้น้อยกว่าและกรอแต่งฟันน้อยกว่าเมื่อเทียบกับครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิค ส่วนมากมักใช้ในฟันหลังมากกว่าฟันหน้า
  • ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิค (Porcelain-fused-to-metal crown: PFM)ครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิค ได้ใช้ข้อดีของโลหะนำมาทำเป็นโครงเพื่อให้ความแข็งแรง และเซรามิคที่ให้สีเหมือนฟันธรรมชาติ การทำครอบฟันชนิดนี้จะต้องกรอเนื้อฟันออกเยอะกว่าครอบฟันโลหะล้วน จึงไม่เหมาะกับฟันเด็กซึ่งมีโพรงประสาทฟันขนาดใหญ่
  • ครอบฟันเซรามิคล้วน (All-ceramic crown: ACC) ครอบฟันเซรามิคล้วนทำจากเซรามิคที่มีความแข็งแรง มีความใสและสวยงามเป็นธรรมชาติมากที่สุด โดยส่วนใหญ่มักใช้ในฟันหน้า ที่ต้องการความสวยงามหรือในคนไข้ที่มีอาการแพ้โลหะ ครอบฟันเซรามิคล้วนทำจากเซรามิคได้หลายชนิด วิธีการขึ้นรูปก็มีหลากหลายวิธี แต่ครอบฟันชนิดนี้จะต้องกรอเนื้อฟันออกมากที่สุดและไม่สามารถใช้ได้ในคนไข้ที่นอนกัดฟันหรือมีนิสัยใช้ฟันหน้ากัดแทะของแข็ง คนไข้ที่มีฟันหน้าสบคร่อมกันลึก
  • ครอบฟันเซอร์โคเนีย (Zirconia crown) ครอบฟันเซอร์โคเนียเป็นครอบฟันเซรามิคล้วนชนิดหนึ่ง ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและขึ้นรูป มีความแข็งแรงมากที่สุดในบรรดาครอบฟันเซรามิคล้วน มีความสวยงามสูงแต่น้อยกว่าครอบฟันเซรามิคล้วน สามารถใช้ในฟันหลังได้ โดยเฉพาะคนไข้ที่แพ้โลหะและจำเป็นต้องทำครอบฟันในฟันหลัง

 

เทคโนโลยีใหม่ในการผลิตครอบฟันและสะพานฟันด้วยคอมพิวเตอร์ CAD/CAM

เทคโนโลยี CAD/CAM ซึ่งหมายถึงการออกแบบและการผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยีนี้ถูกนำมาใช้ช่วยทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่ ทันตกรรมในห้องแล็ปในการตกแต่งรูปร่างและขนาดของวัสดุบูรณะทางทันตกรรมต่างๆ รวมถึง อินเลย์ (Inlays) ออนเลย์ (Onlays) ครอบฟัน และสะพานฟัน ภาพ 3 มิติของฟันและเหงือกของคุณจะช่วยให้ทันตแพทย์และช่างแลปทันตกรรมสามารถออกแบบวัสดุบูรณะฟันหรือครอบ ฟันได้อย่างแม่นยำ เทคโนโลยีนี้มีราคาแพงและทันตแพทย์บางส่วนอาจไม่นำมาใช้ในคลินิกของตน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี CAD/CAM ช่วยให้การรักษาสั้นลงและเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยการพิมพ์แบบฟันแบบสมัยดั้งเดิมจะถูกทดแทนด้วยเครื่องสแกนฟันดิจิทัล 3 มิติ (Intra Oral Digital Scanner) และภาพที่ได้จะถูกส่งไปยังห้องแลปทันตกรรมดิจิทัล (Digital Dental Laboratory) ทันที เพื่อให้ฝ่ายเทคนิคออกแบบรูปร่างครอบฟันและสะพานฟันด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 3 มิติ (CAD/CAM Design) และหลังจากที่ได้ออกแบบเสร็จแล้ว ทันตแพทย์จะทำการตรวจดูรูปร่างของฟันและการสบฟันว่าถูกต้องหรือไม่ ก่อนถูกสั่งตัดขึ้นรูปครอบฟันและสะพานฟันด้วยเครื่องตัดฟันแบบอัตโนมัติ (CNC Dental Milling Machine)

ข้อดีของการครอบฟัน

  • ครอบฟันเซรามิคล้วน หรือครอบฟันโลหะเคลือบเซรามิคสามารถแก้ไข้รูปร่างและสีฟัน ให้มีความสวยงามได้
  • ครอบฟัน สามารถช่วยป้องกันการแตกหักของฟันที่มีรอยผุขนาดใหญ่ ฟันที่รักษารากฟันแล้ว หรือฟันที่มีวัสดุบูรณะขนาดใหญ่ได้
  • ครอบฟัน มีความคงทนถาวรมากกว่าวัสดุอุดฟันโดยทั่วไป

ข้อเสียของการครอบฟัน

  • การทำครอบฟันนั้นจำเป็นต้องกรอเนื้อฟันออกปริมาณมากกว่าการอุดฟัน การทำอินเลย์ หรือ ออนเลย์
  • การกรอแต่งฟันเพื่อทำครอบฟันนั้นมีโอกาสทำอันตรายต่อโพรงประสาทฟันได้ถึง 1-15%
  • การครอบฟันราคาสูงกว่าเมื่อเทียบกับการอุดฟัน
  • ใช้เวลามากกว่าการอุดฟัน โดยปกติจะใช้เวลา 1-2 ครั้ง

การทำครอบฟันชนิดไม่มีโลหะดีอย่างไร

การครอบฟัน เหมาะสำหรับผู้ที่มีการสูญเสียฟันไปเกือบทั้งซี่ ใช้การครอบฟันเพื่อทำให้ฟันนั้นมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม และมีความสวยงามเป็นธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งสมัยก่อนการครอบฟันโดยทั่วไปเราจะใข้ครอบฟันชนิดที่มีโลหะเป็นแกนแล้วพอกด้วยพอร์ซิเลน ซึ่งทำให้ทันตแพทย์ไม่สามารถทำให้ฟันดูเป็นธรรมชาติได้ ครอบฟันชนิดนี้จะดูทึบและไม่เป็นธรรมชาติเพราะเราต้องทำชั้นทึบแสงเพื่อปิดสีโลหะ แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีล่าสุดเราสามารถทำครอบและสะพานฟันที่มีความแข็งแรงโดยไม่จำเป็นต้องมีขั้นโลหะอีกต่อไปและด้วยวัสดุใหม่ High Translucency Cercon (Zirconia) ทำให้เราสามารถทำสะพานฟันยาวๆ หรือครอบฟันและสะพานฟันในรายที่มีการกัดฟันที่แรงผิดปกติเช่นการนอนกัดฟันได้อย่างมั่นใจ ทำให้คนไข้ที่ได้รับการครอบฟันได้ว่า เมื่อทำออกมาแล้วฟันของคุณจะดูเป็นธรรมชาติ และมีความทนทาน

ครอบฟันกับวีเนียร์ ต่างกันอย่างไร

หลายคนสงสัยว่าการครอบฟันกับวีเนียร์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไรเมื่อจุดประสงค์เพื่อปรับฟันให้ดูดีมากขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว 2 วิธีการนี้มีความคล้ายคลึงกัน คือเป็นการทำทันตกรรมเพื่อความงาม แต่ก็มีความแตกต่างกันในบางจุด โดยการทำวีเนียร์เหมาะสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของฟันเพียงเล็กน้อย เช่น สีฟันไม่สวย ฟันไม่สบกัน ฟันไม่เท่ากัน ปัญหาฟันเล็ก การเลือกทำวีเนียร์จะเสียเนื้อฟันที่น้อยกว่า เพราะเป็นการแปะแค่ผิวหน้าบางส่วน เป็นการเคลือบแค่ผิวหน้าของฟันเท่านั้นเอง แต่ถ้าหากเป็นการครอบฟัน จะครอบคลุมพื้นผิวด้านนอกทั้งหมดของฟันซี่นั้น โดยการครอบฟันจะสวมไปลงฟันทั้งซี่

คำถามที่พบบ่อย

ครอบฟันเจ็บไหม?

ความเจ็บปวดเป็นเรื่องที่หลายคนกังวล เพราะแค่พบทันตแพทย์เพื่อดูช่องปากและฟัน ก็ไม่ค่อยอยากจะใช้บริการแล้ว และเมื่อต้องครอบฟัน มีการเตรียมฟัน ยิ่งมีความกังวล หากถามเรื่องของความเจ็บปวด ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีบ้าง แต่ในการรักษา จะมีการใช้ยาชาเฉพาะเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดตามแต่ละประเภทการรักษาอยู่แล้ว หรือภายหลังเสร็จสิ้นการรักษา อาจมีอาการหลังครอบฟัน เช่น ปวดเหงือกรอบฟันซี่นั้น ๆ สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทา และอาการมักจะไม่รุนแรงจะหายไปเองในเวลาไม่นาน

หญิงตั้งครรภ์สามารถครอบฟันได้รึเปล่า?

โดยปกติทันตแพทย์จะไม่แนะให้ทำในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงแก่ทารกในครรภ์ ความเครียด ความกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์มักมีผลต่อทารก แต่หากมีความจำเป็น ก็สามารถทำได้โดยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และทันตแพทย์อาจจะต้องประสานงานกับแพทย์ที่ทำการฝากครรภ์ด้วย เพื่อตรวจเช็คให้แน่ชัดว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีโรคประจำตัวหรือภาวะอื่น ๆ ที่มีผลต่อความเสี่ยง

อายุของการครอบฟัน

โดยปกติอายุการใช้งานของการครอบฟันจะอยู่ที่ 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุและการดูแลรักษาร่วมด้วย หากมีพฤติกรรมเช่น การเคี้ยวน้ำแข็ง หรือใช้ฟันเปิด หรือฉีกผลิตภัณฑ์อาหาร อาจทำให้อายุการใช้งานลดลงได้ ซึ่งทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหลังจากใส่ครอบฟัน

ในบางรายอาจมีอาการเสียวฟันโดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน หรืออาจรับประทานยาแก้ปวด สามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง นอกจากนี้ในช่วงการจัดเตรียมครอบฟันอาจมีอาการอักเสบจากการที่ครอบฟันหลวม ในบางครั้งสิ่งที่ใช้สำหรับยึดเกาะที่ครอบฟันอาจถูกล้างออกมาทำให้ที่ครอบฟันหลวม จนทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไป จนอาจเกิดการอักเสบและฟันผุได้ในที่สุด

การบูรณะช่องปากด้วยวิธีการครอบฟัน มักมีความซับซ้อนของปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ทั้งทางด้านประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร ความสวยงาม การออกเสียง เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันในระยะแรกเริ่ม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา ซึ่งการตรวจช่องปากอย่างละเอียด จะช่วยให้การวางแผนการรักษามีความครอบคลุม และสามารถแก้ปัญหาโดยการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมและตรงจุด

สะพานฟันคืออะไร

สะพานฟันคือรูปแบบของฟันปลอมแบบซี่เดียว โดยมีขอเกี่ยวยึดอยู่ด้านข้างสำหรับยึดกับฟันซี่ข้าง ๆ ของฟันที่หายไปเพื่อทดแทนช่องว่างระหว่างฟัน มีลักษณะคล้ายสะพานเชื่อม สะพานฟันที่นิยมใช้ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ

สะพานฟันแบบธรรมดา ซึ่งจะใช้วิธีครอบฟันช่วยติดสะพานฟันเข้ากับฟันซี่ใกล้เคียง โดยมักผลิตจากเซรามิกล้วนหรือเซรามิกประเภทพอร์ซเลนผสมกับเหล็ก

สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว เป็นสะพานฟันที่ใช้วิธียึดฟันเทียมเข้ากับซี่ฟันจริงเพียงข้างเดียว นิยมใช้ในกรณีฟันซี่ในสุดหลุดไป

สะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซิน หรือสะพานฟันแบบแมรีแลนด์ (Maryland Bridge)คือสะพานฟันที่ผลิตจากพอร์ซเลนหลอมเข้ากับเหล็ก นิยมใช้ในกรณีที่สูญเสียฟันหน้า

ข้อดีและข้อเสียของสะพานฟัน

การทำสะพานฟันเป็นวิธีแก้ไขปัญหาการสูญเสียฟันที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกับการทำฟันปลอมชนิดอื่น ๆ ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำและให้ข้อมูล เพื่อให้ผู้เข้ารับการรักษาชั่งน้ำหนักถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการใส่สะพานฟัน ข้อดีและข้อเสียของสะพานฟัน มีดังนี้

ข้อดีของการทำสะพานฟัน

  • สะพานฟันช่วยให้บดเคี้ยวอาหารได้ดี
  • สะพานช่วยให้ยิ้ม หัวเราะ พูดคุย ได้เหมาะฟันธรรมชาติ
  • คงรูปหน้าไม่ให้เปลี่ยนไปเนื่องจากผลกระทบของการสูญเสียฟัน
  • ป้องกันปัญหาฟันล้ม ที่สามารถเกิดขึ้นในอนาคตได้
  • สะพานช่วยให้การสบฟันเป็นปกติ
  • สะพานช่วยให้ฟันธรรมชาติอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
  • ช่วยให้ฟันที่ถูกถอนกลับมาดูเป็นปกติและมั่นใจยิ่งขึ้น
  • ป้องกันการเคลื่อนที่ของฟันในบริเวณข้างเคียง
  • กระจายน้ำหนักขณะบดเคี้ยวอาหาร ทำให้แรงกดของฟันแต่ละซี่เท่ากัน

ข้อเสียของการทำสะพานฟัน

  • ต้องกรอเนื้อฟันออกมากในกรณีที่ฟันข้างเคียงเป็นฟันที่แข็งแรง การทำสะพานฟันจำเป็นต้องกรอเนื้อฟันข้างเคียงออกทั้ง 2 ซี่ ยิ่งในกรณีที่ฟันทั้ง 2 ซี่ มีแนวการเรียงตัวไม่เหมือนกัน บางรายอาจจะต้องรักษารากฟันร่วมด้วย
  • สะพานฟันราคาสูงกว่าฟันเทียม บางส่วนถอดได้
  • การทำความสะอาดยากขึ้น ต้องอาศัยเครื่องมือบางอย่างและการดูแลรักษาความสะอาดที่ดี

สะพานฟันดูแลอย่างไร

การดูแลสะพานฟันควรทำควบคู่ไปกับการรักษาสุขภาพช่องปาก เพราะปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียงอาจทำให้สะพานฟันเกิดความเสียหายได้ ซึ่งวิธีดูแลสุขภาพช่องปากทำได้ดังนี้
แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันหรืออุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำ เพื่อป้องกันการตกค้างของเศษอาหารที่อาจทำให้เกิดฟันผุ
พบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพฟัน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและลดอาหารน้ำตาลสูงเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ

ขั้นตอนการใส่สะพานฟัน

เมื่อคนไข้ตัดสินใจเข้ารับการใส่สะพานฟันแล้ว แพทย์จะกรอเคลือบฟันและเนื้อฟันของฟันซี่ข้าง ๆ ออกบางส่วนเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับครอบสะพานฟันลงไป หลังจากนั้นจึงใส่สะพานฟันชั่วคราวเพื่อช่วยป้องกันฟันที่ถูกกรอเนื้อฟันออกและให้ผู้ป่วยเกิดความคุ้นเคยในระหว่างรอสะพานฟันจริง

เมื่อสะพานฟันชิ้นจริงถูกปรับแต่งจนพอดีกับช่องปากแล้ว ทันตแพทย์จะนำสะพานฟันชั่วคราวออกและแทนที่ด้วยสะพานฟันจริง โดยจะยึดติดไว้กับฟันจริงชั่วคราวประมาณ 2 สัปดาห์ จนกว่าจะแน่ใจว่าพอดีกับช่องปาก ก่อนจะใช้วัสดุทางทันตกรรมประสานสะพานฟันเข้ากับฟันจริงอย่างถาวร ทั้งนี้ เพื่อผลดีต่อสุขภาพช่องปาก คนไข้ควรเข้ารับการตรวจตามการนัดของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

ข้อจำกัดของการทำสะพานฟัน

การทำสะพานฟันจะทำได้ในผู้ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก หากมีปัญหาเช่น โรคเหงือก จะไม่สามารถทำสะพานฟันได้จนกว่าจะรักษาโรคเหงือกให้หายเป็นปกติก่อน การทำสะพานฟันจำเป็นต้องกรอเนื้อฟันซี่ข้างเคียงเพื่อทำเป็นหลักยึด ทำให้สูญเสียเนื้อฟันซี่ที่ดีออกไป และสะพานฟันจะทำความสะอาดยากกว่าฟันธรรมชาติ เนื่องจากส่วนที่เป็น Pontic คือส่วนลอยอยู่บนเหงือก ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการทำความสะอาด เช่นไหมขัดฟัน จะเพิ่มขึ้นตอนในการทำความสะอาดฟันมากกว่าปกติ หากดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดี อาจจะทำให้เกิดกลิ่นปากได้ กรณีผู้ที่สูญเสียฟันไป แต่ไม่อยากทำสะพานฟัน สามารถเลือกทำ “รากฟันเทียม” ทดแทนได้

ขั้นตอนการทำสะพานฟันแบบทั่วไป

  1. ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์ เพราะการทำสะพานฟันเป็นการทำฟันปลอมแบบถาวร จะต้องวางแผนการรักษาอย่างละเอียด และแม่นยำ รวมถึงการเลือกสีและวัสดุของสะพานฟันให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของฟันแต่ละซี่
  2. เตรียมฟันที่จะเป็นหลักยึดของสะพานฟัน ทันตแพทย์จะกรอฟันให้มีขนาดเล็กและสั้นลง เพื่อให้สวมสะพานฟันได้พอดี
  3. พิมพ์ปากในบริเวณที่จะทำสะพานฟันและฟันคู่สบ เพื่อส่งให้ช่างทันตกรรมผลิตสะพานฟันที่พอดีกับฟันธรรมชาติ ขั้นตอนผลิตชิ้นงานสะพานฟันจะใช้เวลาประมาณ 5-7วัน ระหว่างที่รอสะพานฟันจากห้องแลปทันตกรรม ทันตแพทย์จะใส่สะพานฟันแบบชั่วคราวให้เพื่อให้สามารถบดเคี้ยวอาหารและใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ขณะใส่สะพานฟันชั่วคราว ควรระมัดระวังหลีกเลี่ยงการกัดของแข็งเพราะอาจจะทำให้สะพานฟันแบบชั่วคราวหลุด แตก หรือหักได้
  4. ใส่สะพานฟันตัวจริงทันตแพทย์จะถอดสะพานฟันชั่วคราวออก แล้วยึดติดสะพานฟันตัวจริงที่ผลิตจากห้องแลปทันตกรรม ปรับแต่งสะพานฟันให้เหมาะสม ซึ่งสะพานฟันตัวจริงนี้จะมีความแข็งแรง และสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ
  5. ตรวจเช็คหลังจากการใช้งาน(Recheck) ทันตแพทย์จะนัดหมายมาตรวจเช็คประมาณ 7-10 วันหลังจากวันที่ใส่สะพานฟัน ซึ่งหากมีปัญหาการใช้งานที่ผิดปกติจะได้แก้ไขให้คนไข้ได้ทันที

วิธีดูแลรักษา

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แข็งและเหนียว เพราะจะทำให้สะพานฟันหลุดหรือแตกได้
  • ควรแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันบริเวณสะพานฟันและ Pontic เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบและปัญหากลิ่นปาก
  • หากเกิดอาการเสียวฟันให้งดรับประทานอาหารร้อนหรือเย็นเกินไป และทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
  • พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน ตรวจลักษณะของสะพานฟันและตรวจสุขภาพฟันเพื่อให้มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี

อายุการใช้งานของสะพานฟัน

สะพานฟันจะมีอายุการใช้งานคล้ายๆกับครอบฟัน สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า 10 ปี แต่ต้องอาศัยการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีของแต่ละบุคคล เช่นการแปรงฟันที่ถูกวิธี การใช้ไหมขัดฟัน เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และปฎิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ รวมถึงการรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่ม ไม่แข็งหรือเหนียวเกินไป หากสะพานฟันถูกใช้งานอย่างถนอม จะช่วยทำให้สะพานฟันของเราใช้งานได้ยาวนาน

CROWNS / BRIDGES / DENTURES ราคา

CROWNS ครอบฟันราคา
Porcelain fused to metal crown (PFM) ราคา
15,000 warranty2years
Full Ceramic/Porcelain e.Max Crown ราคา 22,000 warranty2years
Zirconia Crown ราคา 23,000 warranty2years
CAD/CAM Zirconia Crown with 3D scan and fully digital workflow ราคา 25,000 warranty2years
Full Gold Crown ราคา 30,000-40,000 (ขึ้นกับขนาดและชนิดทอง) warranty2years
Crown on Implant ราคา 35,000–40,000 (ขึ้นกับยี่ห้อรากเทียมของคนไข้) warranty2years
     
DENTURES ฟันปลอมราคา THB Duration
Full Denture (per arch) ราคา 35,000–40,000 7 Days
     
Post/Pin ราคา THB Duration
Core build-up ราคา 2,000-4,000 1 Visit
Resin/Fiber Post ราคา 5,000 1 Visit