ทันตกรรมรากฟันเทียมกับคลินิกทำรากฟันเทียมเฉพาะทาง (Dental Implants) ป้องกันการสูญเสียฟัน เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก


ทันตกรรมรากฟันเทียม คืออะไร (Dental Implant)

ทันตกรรมรากฟันเทียม คือ วิธีการปลูกรากเทียมหรือทำรากฟันเทียมทดแทนรากฟันจริง เพื่อให้สามารถมีฟันจริงได้เหมือนเดิม และเป็นฐานให้แก่ฟันที่สร้างขึ้นมาใหม่ โดยจะฝังวัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันลงบนกระดูกขากรรไกร เพื่อช่วยให้ฟันปลอมภายในช่องปากทั้งชนิดถอดได้ และชนิดติดแน่นยึดเกาะได้ดี โดยอาจใช้รากเทียมเพื่อการใส่ฟันปลอม 1 ซี่หรือมากกว่านั้น ในบางกรณีการใส่ฟันปลอมทั้งปาก ก็อาจใช้รากฟันเทียมเพียงตัวเดียวได้เช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ใช้ในการยึดเกาะของฟันปลอมแต่ละซี่


รักษารากฟันเทียม ไว้ใจทันตกิจ ศูนย์ทันตกรรม Nobel Bio-care

ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ เป็นคลินิกทันตกรรมแห่งแรกของประเทศไทยที่ริเริ่มการรักษาทันตกรรมรากฟันเทียมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 โดยทันตแพทย์บัญชา ศิริไกร ท่านเป็นทันตแพทย์ไทยท่านแรกที่ได้เดินทางไปศึกษาทันตกรรมรากฟันเทียมที่ Temple University เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้นำความรู้มาทำการรักษารากฟันเทียมทั้งปาก เป็นท่านแรกในประเทศไทย ต่อมาทันตแพทย์ธารา ศิริไกร บุตรชายคนโตได้สานต่องานทันตกรรมรากฟันเทียมจากคุณพ่อ โดยทันตแพทย์ธาราได้จบการศึกษาเฉพาะทางด้านทันตกรรมรากฟันเทียมจาก New York University ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และทำการรักษาทางด้านทันตกรรมรากฟันเทียมที่ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ศูนย์ทันกรรมทันตกิจมีทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมรากฟันเทียมอยู่หลายท่าน


รากฟันเทียมประกอบไปด้วย 3 ส่วนที่สำคัญคือ

1. รากเทียม (Implant Screw)

ทำมาจากโลหะไทยทาเนียม มีลักษณะคล้ายรากฟันจริง การทำรากฟันเทียมส่วนนี้จะฝังอยู่บริเวณกระดูกขากรรไกร สามารถยึดติดได้แน่นโดยไม่ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นอักเสบหรือเกิดผลข้างเคียงใดๆ

2. เดือยรองรับครอบฟัน (Abutment)

เมื่อทำการฝังรากฟันเทียมบนกระดูกขากรรไกรจะใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือนเพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี

3. ครอบฟัน (Crown)

เป็นส่วนที่อยู่ด้านนอกของเหงือก ทำมาจากเซรามิค (porcelain) มีลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ


รากฟันเทียมทำงานได้อย่างไร

รากฟันเทียมจะทำงานร่วมกับกระดูกขากรรไกรเมื่อทั้งสองอย่างประสานกันอย่างสนิทแล้ว และจะให้เกิดการรองรับฟัน โดยฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมที่ทำงานร่วมกับรากฟันเทียม จะไม่เลื่อนหรือลื่นออกจากจุดที่ต้องการ ซึ่งจะมีประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะตอนที่พูดและรับประทานอาหาร การฝังรากเทียมนี้ ช่วยในการทำฟันปลอม การครอบฟัน และที่ยึดฟันปลอมบนรากเทียมจะให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมหรือการทำฟันปลอมแบบธรรมดา สำหรับบางคน การทำฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาไม่ได้ให้ความรู้สึกสบาย อาจมีบางจุด ที่ทำให้เจ็บ นูน หรือยื่นออกมา บางครั้งอาจมีความรู้สึกคลื่นไส้ ยิ่งไปกว่านั้นการที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาต้องใช้ติดกับฟัน หรือช่องว่างของฟันที่เหลือจากฟันที่หายไป ประโยชน์ของการทำรากเทียมก็คือไม่ต้องกรอฟันเพื่อที่จะเตรียม แนบสะพานฟันให้ติดกับฟัน แต่เจาะลึกลงไปในฟันที่จะแทนที่เลย การเตรียมตัวสำหรับการฝังราก ต้องมีสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง และมีกระดูกมากเพียงพอที่จะรองรับรากฟัน และต้องยอมรับที่จะรักษารากฟันเทียม เพื่อสุขภาพของเหงือก และกระดูกให้สมบูรณ์ การดูแลความสะอาดของช่องปากอย่าง ละเอียดถี่ถ้วน และไปพบทันตแพย์ตามระยะเวลาที่กำหนดจะทำให้การฝังรากฟันเทียมมีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น


ข้อดีของทันตกรรมรากฟันเทียม

    • เพิ่มความมั่นใจ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    • ฟันเทียมที่ดูเป็นธรรมชาติและใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
    • ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง
    • สามารถบดเคี้ยวได้ดี
    • ไม่มีปัญหากับการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่นๆ
    • ช่วยการใส่ฟันเทียมแบบถอดได้ความรู้สึกสบาย มีความแน่นกระชับมากยิ่งขึ้น
    • ป้องกันการสูญเสียฟันและกระดูกข้างเคียง
    • ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติมากที่สุด
    • เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก
    • คงทนและถาวร
    • เมื่อร่วมกับฟันเทียมแบบถอดได้ จะหมดปัญหาฟันเทียมขยับระหว่างพูดคุย หรือรับประทานอาหาร

ข้อเปรียบเทียบระหว่างการทำรากฟันเทียม ฟันปลอม และสะพานฟัน

ทันตกรรมรากฟันเทียม การทำฟันปลอมถอดได้ การทำสะพานฟัน
ไม่สูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติ มีการกรอฟันเล็กน้อย ต้องกรอฟันซี่ข้างเคียงเพื่อใส่สะพานฟัน
แข็งแรงกว่า มีอายุใช้งานที่ยาวนานกว่า ต้องได้รับการปรับเป็นประจำทุกๆ3-5ปี ต้องได้รับการเปลี่ยนหลังจากใช้งานประมาณ2-3ปี และต้องเสียค่าช้าจ่ายเพิ่ม
แข็งแรงกว่า มีอายุใช้งานที่ยาวนานกว่า ออกเสียงไม่ชัดเจน และรับประทานอาหารไม่สะดวก อาจก่อให้เกิดฟันผุหรือปัญหาโรคเหงือกได้ หากดูแลทำความสะอาดไม่ดี
ไม่มีปัญหาฟันผุหรือโรคเหงือก ราคาถูก ไม่สามารถทดแทนฟันทุกซี่ได้
มีความแข็งแรงเทียบเท่าฟันธรรมชาติ อาจทำให้เกิดการเสื่อมของกระดูกรองรับฟัน ความแข็งแรงน้อยกว่ารากฟันเทียม
มีการผ่าตัดร่วม ต้องถอดเพื่อทำความสะอาด ไม่มีการผ่าตัดร่วม ทำได้เร็วกว่า

ขั้นตอนการรักษารากฟันเทียม

ขั้นที่ 1 ทันตแพทย์ทำการตรวจสภาพช่องปากและเตรียมสภาพช่องปากให้เรียบร้อย

ขั้นที่ 2 ทันตแพทย์ถ่ายภาพรังสีเพื่อดูปริมาณกระดูกและอวัยวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจต้องมีการทำภาพถ่ายสแกน 3 มิติ (3D Dental CT Scan) ร่วมด้วยในบางเคส

ขั้นที่ 3 การฝังรากฟันเทียมลงในกระดูก หลังการผ่าตัด จะเย็บปิดแผล แล้วรอให้ร่างกาย สร้างกระดูกเพื่อยึดติด กับรากเทียม โดยจะรอประมาณ 3 – 6 เดือน

ขั้นที่ 4 เป็นผ่าตัดครั้งที่ 2 โดยทำการผ่าตัดเปิดเหงือกแล้วยึดส่วนแกนฟัน (Abutment) ลงบนรากฟันเทียมที่ฝังอยู่ในกระดูก จากนั้นจึงปิดแผล และจะเห็นว่ามีส่วน แกนฟัน โผล่ออกมาเพื่อเตรียมรองรับฟันปลอมต่อไป (ซึ่งขั้นตอนที่ 2 นี้ อาจไม่มีความจำเป็น ถ้าในการผ่าตัดครั้งแรก รากเทียมยึดติดกับกระดูกได้แน่นพอ)

ขั้นที่ 5 เป็นการทำฟันปลอมทับบนแกนฟันและรากเทียม ซึ่งอาจจะเป็นฟันปลอมติดแน่น เช่น ครอบฟัน หรือ ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากที่ทับบนรากฟันเทียม

ขั้นที่ 6 ควรพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือน


ชนิดของรากฟันเทียม

รรากฟันเทียมแบ่งได้หลักๆ เป็น 3 ชนิด คือ Conventional Implant, Immediate Implant และ Immediate Loaded Implant จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับสภาพภายในช่องปาก ความจำเป็นของคนไข้ และประสบการณ์ของทันตแพทย์


Conventional Implant

Conventional Implant คือ การฝังรากเทียมโดยทั่วไปขั้นตอนคร่าวๆ คือ ทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยพิมพ์ปากและ x-ray ในบางตำแหน่งอาจจะต้องทำ CT Scan ร่วมด้วยเพื่อทำการวางแผนการรักษา จากนั้นจะนัดหมายผู้ป่วยเพื่อการผ่าตัดเล็กฝังรากเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร หลังจากฝังรากเทียมแล้วจะต้องรอให้รากเทียมและกระดูกยึดติดกันเต็มที่ ประมาณ 3-4 เดือนขึ้นอยู่กับลักษณะของกระดูก โดยทันตแพทย์ก็จะทำฟันเทียมยึดกับรากเทียมต่อไป ซึ่งระยะเวลาในขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของฟันเทียม ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 1-4 สัปดาห์ ข้อจำกัดในการรักษารากฟันเทียมจะมีน้อยมากหากวางแผนการรักษาไว้เป็นอย่างดี แต่ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ ผู้ที่มีปริมาณของกระดูกน้อยมากๆ ในบริเวณที่จะทำการฝังรากฟันเทียม ทำให้ต้องมีการปลูกกระดูกก่อนหรือในบางรายอาจจะปลูกกระดูกไม่ได้


Immediate implant

Immediate implant คือ การฝังรากเทียมทันทีหลังจากทำการถอนฟันธรรมชาติออก ข้อดีของวิธีนี้ คือลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานลง ลดการละลายของกระดูก ลดโอกาสในการเกิดเหงือกร่น แต่ตำแหน่งฟันที่เหมาะจะทำด้วยวิธีนี้มักจะเป็นฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย ต้องไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันของฟันที่จะถอน และต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดอยู่


Immediate loaded implant

Immediate loaded implant คือ การต่อส่วนของทันตกรรมประดิษฐ์ เช่น ครอบฟันไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราว หรือแบบถาวร ไปที่รากฟันเทียมทันทีที่ทำการฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาของการรักษาลงไปได้มาก ให้ความสวยงามเนื่องจากคนไข้จะมีฟันอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้มีอยู่มาก


ทันตแพทย์สามารถใช้รากฟันเทียมช่วยในการใส่ฟันทดแทนให้คนไข้ได้หลายวิธีดังนี้

    • ในกรณีที่มีฟันหายไปเพียง 1 หรือ 2 ซี่การใส่ฟันเทียมติดแน่นทำได้ 2 วิธี คือ รากฟันเทียมและสะพานฟัน แต่ทำรากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีใส่ฟันที่ให้ผลสำเร็จดีที่สุด และมีข้อดีมากกว่าการใส่สะพานฟัน คือ ไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า และสะพานฟันมีส่วนของครอบฟันติดกันทั้งหมด หากมีซี่ใดซี่หนึ่งมีปัญหาจะต้องรื้อออกทั้งหมด
    • การทดแทนฟันหลายซี่ในกรณีที่ฟันหายไป 1 ซี่แต่หลายๆ ตำแหน่ง ก็สามารถใส่รากฟันเทียมรองรับครอบฟันได้ แต่กรณีที่ฟันหายไปหลาย ๆ ซี่ติดกัน ทันตแพทย์สามารถทำการฝังรากฟันเทียมเพื่อรองรับสะพานฟันได้ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถลดจำนวนรากฟันเทียมลงได้ไม่ต้องทำทั้งปาก หรือในบริเวณที่ไม่สามารถฝังรากฟันเทียมเท่ากับจำนวนฟันที่หายไปได้
    • ในกรณีที่มีฟันหายไปเป็นจำนวนมากรากฟันเทียมสามารถช่วยให้ฟันเทียมแบบถอดได้แน่นขึ้น ไม่จำเป็นต้องใส่ตะขอฟันปลอม หรือทำให้ส่วนของเหงือกปลอมสั้นลงได้
    • การทดแทนฟันที่หายไปทั้งปากในกรณีที่ฟันหายไปทั้งปาก รากฟันเทียมสามารถช่วยทดแทนฟันได้ทั้งแบบติดแน่น และแบบถอดได้ แบบติดแน่น ทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมจำนวน 4, 6 หรือ 8 ตัวต่อ 1 ขากรรไกร ส่วนแบบถอดได้จะทำการฝังรากฟันเทียมจำนวน 2-4 ตัว วิธีการและความยุ่งยากก็จะแตกต่างกันไป

ทำรากฟันเทียมเหมาะกับใครบ้าง

    • คนที่ต้องการใส่ฟันเพียงซี่เดียว โดยที่ฟันข้างเคียงอยู่ในสภาพดี
    • คนที่ใส่ฟันปลอมทั้งปาก แต่พบปัญหาว่ากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัวลงมากทำให้ฟันปลอมหลุดได้ง่าย สามารถแก้ไขได้ด้วยการฝังรากฟันไทเทเนียม ซึ่งตัวรากฟันจะช่วยยึดฟันปลอมให้แน่นขึ้น
    • คนที่ไม่ชอบการใส่ฟันปลอมแบบถอดได้
    • คนที่ไม่ต้องการกรอฟันในการทำสะพานฟันติดแน่น

ผู้ที่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม และผู้ที่ไม่ควรทำ

ผู้ที่มีการสูญเสียฟันแท้ไปสามารถรับการรักษาด้วยการทำรากฟันเทียมทั้งปากและทำได้ทุกคน โดยไม่กำหนดช่วงอายุ แต่ไม่ควรทำในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 18 ปี เนื่องจากกระดูกขากรรไกรยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ ควรคลอดบุตรก่อน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งที่ต้องได้รับการฉายรังสีบริเวณใบหน้าและขากรรไกร ผู้ป่วยที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นลูคิเมีย ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์ควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมก่อนทำการฝังรากเทียม สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือสูบบุหรี่จัดจะมีผลต่อความสำเร็จในการรักษา ส่วนผู้ป่วยจิตเภท ผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนแรง หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ไม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากเองได้ ไม่ควรเข้ารับการทำรากฟันเทียม


คำถามที่มักพบบ่อยสำหรับการฝังรากเทียม

1. ทำรากฟันเทียมเจ็บไหม?

การฝังรากเทียมในคนไข้เเต่ละราย และฟันในเเต่ละตำเเหน่งในช่องปากนั้นมีความแตกต่างกัน ประมาณ 90% ของเคสจะทำการฝังรากเทียมภายใต้ยาชาเฉพาะที่ จะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยขณะฉีดยาชา เมื่อคนไข้ชาเต็มที่การผ่าตัดจะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดค่ะ แต่ความเจ็บปวดหรืออาการภายหลังการผ่าตัดนั้นจะมากน้อยต่างกันไป โดยเกิดจากความเเตกต่างของลักษณะของสันกระดูก ปริมาณของกระดูก คุณภาพของกระดูก และคุณภาพของเนื้อเยื่อเหงือกในบริเวณที่รับการรักษา ในรายที่มีปริมาณกระดูกเพียงพอ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากเทียมจะทำได้ง่าย ความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟันเเละใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วันภายหลังการผ่าตัดเท่านั้น ต่างจากในบางกรณีที่มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือ มีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี จะต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ให้พร้อมก่อนการฝังรากเทียม ซึ่งภายหลังการผ่าตัดระยะเวลาการพักฟื้นจะนานกว่า

2. อายุมีผลต่อการทำรากฟันเทียมไหม?

รากฟันเทียมจะทำการฝังในคนไข้ที่หยุดการเจริญเติบโตแล้วเท่านั้น เนื่องจากเมื่อทำการฝังรากฟันเทียมเเล้วตำเเหน่งรากฟันเทียมจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ฉะนั้น เมื่อคนไข้เด็กหรือวัยรุ่นที่ยังมีการเจริญเติบโต จะเเนะนำให้ทดเเทนฟันด้วยวิธีอื่นก่อนค่ะ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมเเล้วจึงมาทำการรักษาด้วยรากเทียม ส่วนในกรณีผู้สูงอายุที่คนไข้สุขภาพร่างกายเเข็งเเรงเเละไม่มีโรคประจำตัว หรือมีโรคประจำตัวที่สามารถควบคุมโรคได้ อยู่ในการดูแลของเเพทย์ สามารถทำรากฟันเทียมได้เช่นเดียวกับคนไข้ทั่วไป เเต่ในบางกรณีที่คนไข้ได้รับยาละลายลิ่มเลือด หรือยาต้านการเเข็งตัวของเลือดบางชนิด จำเป็นจะต้องมีการปรึกษาเเพทย์ประจำตัวเพื่อประเมินร่วมกันอีกครั้ง นอกจากนั้นโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ถ้าผู้ป่วยคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะส่งผลถึงเปอร์เซนต์ความสำเร็จและอายุการใช้งานของรากฟันเทียมได้

3. ทำฝังรากเทียมแล้วใช้งานได้นานเเค่ไหน?

อายุการใช้งานของรากฟันเทียมนั้นจำเป็นต้องแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนครอบฟันและส่วนรากฟัน โดยส่วนครอบฟันนั้นอายุการใช้งานนั้นใกล้เคียงกับครอบฟันธรรมชาติทั่วไป สามารถเกิดการแตก หัก บิ่นของครอบฟันได้ตามลักษณะการใช้งาน แต่ส่วนของรากเทียมที่ฝังในกระดูกนั้น อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณของกระดูกรอบๆรากเทียม จากการศึกษาความสำเร็จในการฝังรากเทียมพบ 5% ในระยะเวลา 5 ปี และ 89.4% ในระยะเวลา 10 ปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่า การ Maintanance อย่างต่อเนื่อง มีผลต่ออายุการใช้งานของรากเทียมอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการดูแลด้วยตนเองโดยการทำความสะอาดอย่างถูกวิธี การระมัดระวังในการกัดเคี้ยวอาหาร และการมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจติดตามภายหลังการรักษาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถทำให้รากเทียมใช้งานได้นานและคงประสิทธิภาพที่ดี

4. ระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมดในการทำรากฟันเทียม

เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะเเบ่งการรักษาเป็น 2 กระบวนการ ได้แก่ ขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียม และขั้นตอนการใส่ฟันบนรากเทียม โดยในอตีดทั้งสองขั้นตอนจะห่างกันประมาณ 4-6 เดือนเเต่ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีของทันตกรรมรากเทียม ระยะเวลาที่ใช้ในการทำรากฟันเทียมนั้นได้ลดลงมาก การผ่าตัดฝังรากเทียมในรายที่มีกระดูกคุณภาพดี สามารถใส่ฟันได้ทันทีหรือภายหลังการฝังรากเทียมเพียง 2-3 เดือน โดยระยะเวลาของการรักษาในเเต่ละกรณีจะแตกต่างกับไปตามปริมาณและคุณภาพของของกระดูกรองรับรากเทียม

5. ก่อนเเละหลังการผ่าตัดฝังรากเทียมต้องเตรียมตัวอย่างไร?

ก่อนฝังรากเทียม ก่อนฝังรากเทียมในคนไข้ที่ร่างกายเเข็งเเรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ เเต่ในกรณีที่มีโรคประจำตัว มียาที่จำเป็นต้องรับประทานเป็นประจำ หรือมีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งต่อทันตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัดทุกครั้ง หลังจากการตรวจประเมินอย่างละเอียดโดยทันตแพทย์ จะมีการถ่ายภาพรังสีสองมิติบริเวณที่ฝังรากเทียม ในกรณีที่ตำเเหน่งนั้นมีอวัยวะสำคัญ หรือต้องทำการครอบฟันทันทีภายหลังการฝังรากเทียม จะต้องมีการถ่ายภาพรังสีสามมิติ (CT Scan) เพิ่มเติม

หลังการผ่าตัดฝังรากเทียม ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารเเข็ง ในฝั่งบริเวณที่ทำ 1-2 เดือน เพื่อป้องกันเเรงกระเเทกที่สามารถเกิดขึ้นกับรากเทียมที่เพิ่งฝังเข้าไป ผู้ป่วยสามารถเเปรงฟันเเละทำความสะอาดฟันได้ปกติ เพียงเเต่เพิ่มความระมัดระวังมิให้เกิดการกระเเทกต่อรากเทียมเท่านั้น อาการปวดบวมภายหลังการผ่าตัดสามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ 5-7 วัน รับประทานยาที่ได้อย่างต่อเนื่องจะทำให้แผลหายเป็นปกติได้ ในกรณีที่มีอาการผิดปกติ เช่น มีหนอง, มีไข้, มีอาการชา บริเวณคาง ริมผีปาก หรือลิ้น ภายหลังการผ่าตัดไปแล้ว 1-2 วัน ให้ติดต่อกลับมาเพื่อตรวจสอบอาการทันที

จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันการผ่าตัดฝังรากเทียม เป็นการรักษาที่ทำได้ง่ายเเละรวดเร็วขึ้น ค่าใช้จ่ายก็ลดลงมากเปรียบเทียบกับเมื่อ 3-5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเทคโนโลยีเเละองค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้น เเต่อย่างไรก็ตามอยากให้ทุกท่านตรวจสอบเเละหาข้อมูลก่อนทำการตัดสินใจเข้ารับการฝังรากเทียม ควรเลือกสถานพยาบาลที่มีมาตรฐาน และทีมทันตแพทย์เฉพาะทางที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม เพื่อทุกท่านจะได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอันตราย

6. ทำรากฟันเทียมราคาเท่าไหร่?

หลายคนอาจกังวัลเรื่องค่าใช้จ่าย ทำรากฟันเทียมราคาเท่าไหร่? แพงไหม? ทำรากฟันเทียมราคาเริ่มต้นกับศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ จะอยู่ที่ 65,000 บาท ไปจนถึง 600,000 บาทในกรณีทำรากฟันเทียมทั้งปาก และรับประกันรากฟันเทียมให้อีก 5 ปี ถือเป็นราคาค่ารักษาที่สมเหตุสมผล เพื่อแลกกับการไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติเพราะไม่ต้องกรอฟัน ไม่มีปัญหาเรื่องฝันผุหรือโรคเหงือก เมื่อเทียบกับการทำฟันปลอมหรือการทำสะพานฟัน แถมยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า คุ้มค่ากับค่ารักษา


วิธีง่ายๆ ดูแลตัวเองหลังทำรากฟันเทียม

การฝังรากฟันเทียมคือการใช้วัสดุที่มีความทนทานอย่างไทเทเนียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกร ทดแทนรากฟันที่เสียหายไป ทำหน้าที่รองรับทันตกรรมฟันปลอม (denture), ครอบฟัน (crown) หรือสะพานฟัน (bridge) โดยในปัจจุบันการฝังรากฟันเทียมจะ

ให้ผลลัพธ์เหมือนกับรากฟันแท้ๆ มากที่สุด อีกทั้งยังแข็งแรงทนทาน สามารถอยู่กับคุณได้ไปอีกนาน… แต่นั่นก็ไม่ใช่ว่าคุณจะไม่ต้องดูแลรักษาสุขภาพของรากฟันเทียมเลย เรามี 12 วิธีปฏิบัติง่ายๆ ที่จะดูแลตัวเองหลังทำรากฟันเทียม เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีและช่วยให้รากฟันเทียมของคุณมีอายุใช้งานยืนยาวได้อย่างที่สุด

1. ทำตามคำแนะนำของแพทย์: นี่คือสิ่งแรกและสิ่งสำคัญที่สุดซึ่งคุณต้องทำอย่างเคร่งครัด ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการศึกษารายละเอียดต่างๆ ก่อนจะทำการฝังรากฟันเทียมให้คุณ ฉะนั้นนี่คือคนแรกที่จะแนะนำได้ว่าคุณควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้ผลการรักษาสำเร็จ

2. พักปากสักนิด: จะอย่างไรเสีย นี่ก็คือการผ่าตัด ฉะนั้นการใช้งานปากและฟันของคุณหนักเกินไป อาจจะทำให้แผลเปิด บวม หรืออักเสบได้ ระมัดระวังการขยับหรือเคี้ยวแรงๆ ในช่วง 2-3 วันแรกจะดีมาก

3. ทานยาตามเวลา: การรักษานั้นไม่ได้จบลงเมื่อคุณได้รับการผ่าตัดสำเร็จ แต่หมายถึงการฟื้นตัวหลังจากนั้นด้วย เราแนะนำให้คุณทานยาที่ได้รับมาตามเวลาจนกว่าจะหมด เพื่อให้การรักษาเสร็จสมบูรณ์

4. ดื่มน้ำให้มากๆ: เนื้อเยื่อของคุณจะฟื้นตัวได้ไวกว่าหากได้ความชุ่มชื้นจากน้ำอย่างเหมาะสม การดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วสามารถช่วยคุณในเรื่องนี้ได้

5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่นั้นส่งผลเสียมากมายต่อสุขภาพช่องปากของคุณ เช่น เหงือกอักเสบ การติดเชื้อ ฟันผุ มะเร็งในช่องปาก และส่งผลเสียต่อการฝังรากฟันเทียมด้วย ฉะนั้นคุณควรงดสุบบุหรี่ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดนี้

6. แอลกอฮอล์ก็ด้วย: การดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างที่แผลของคุณยังไม่สมานตัวดี เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการอักเสบและติดเชื้ออย่างมาก คุณน่าจะรู้แล้วว่าต้องทำอย่างไร

7. ทานอาหารเพื่อสุขภาพ: อาหารประเภทนม เนยถั่ว ลูกเกด ปลาแซลมอน ชาเขียว หรืออาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ จะช่วยเสริมสุขภาพช่องปากและทำให้แผลหายไวยิ่งขึ้น ลองเพิ่มสิ่งเหล่านี้ลงในเมนูประจำวัน คุณจะพบกับความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อสุขภาพแน่นอน

8. แล้วก็อย่าทานอาหารเหล่านี้: อาหารที่มีกรดสูงอย่าง น้ำผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ ลูกอมหรือขนมหวาน อาหารที่แข็งและต้องออกแรงเคี้ยวหนักๆ อาหารที่ว่ามานี้จะทำให้แผลของคุณหายช้าลง

9. ลดน้ำตาลด้วยนะ: น้ำตาลไม่เป็นมิตรต่อฟันของคุณอยู่แล้ว ไม่ต้องแปลกใจถ้าคุณควรจะงด ขนมและอาหารที่มีรสหวานจัดทั้งปวงให้สิ้น นอกจากแผลของคุณจะหายดีแล้ว สุขภาพของคุณจะดีในระยะยาวด้วย

10. สร้างสุขนิสัยที่ดีต่อช่องปาก: สุขภาพของรากฟันเทียมนั้นแปรผันกับสุขภาพช่องปากคุณด้วย ฉะนั้นคุณต้องแปรงฟัน ขัดฟัน บ้วนปาก และพบกับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

11. ตรวจดูรากฟันเทียมเป็นประจำ: อย่าให้รากฟันเทียมเป็นสิ่งที่ถูกลืมในปากของคุณ ลองตรวจสอบมันดูเป็นระยะเพื่อสังเกตุดูถึงสัญญาณผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น และอย่าปล่อยให้สิ่งผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ กลายเป็นเรื่องใหญ่ หากไม่แน่ใจคุณควรพบแพทย์โดยเร็ว

12. อย่ากัดหรือกดฟันปลอมแรงๆ: ระหว่างฟื้นตัวจากการฝังรากฟันเทียม อย่ากระทำการใดๆ ที่จะมีผลกระทบกับฟันปลอมซี่นั้นอย่างรุนแรง ไม่เช่นนั้น นอกจากจะเจ็บแล้ว แผลอาจจะเปิดและอักเสบได้

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ฟันปลอมและรากฟันเทียมมีอายุการใช้งานยืนยาว อีกทั้งยังรวมไปถึงทำให้สุขภาพในช่องปากของคุณโดยรวมดีขึ้นได้อย่างเห็นผลชัดเจนด้วย แน่นอนว่า การเอาใจใส่ดูแลตัวเองและสร้างลักษณะนิสัยที่ดีก็คือเคล็ดลับที่ทำให้คุณมีรอยยิ้มสวยๆ ได้นาน ๆ


ทำไมถึงเลือกทำรากฟันเทียม ที่ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ

    • เราเป็นศูนย์ทันตกรรมแห่งแรกที่ริเริ่มการรักษารากฟันเทียมทั้งปาก ทันตกรรมรากฟันเทียมในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2516
    • ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมรากฟันเทียมของเราเป็นทันตแพทย์ประจำแบบ full time ซึ่งสามารถดูแลรับผิดชอบการรักษาได้อย่างต่อเนื่องตลอดจนถึงการดูแลรากเทียมในระยะยาว หรือแม้กระทั่งการรักษารากฟันเทียมทั้งปาก
    • เราเป็นศูนย์ทันตกรรมรากฟันเทียม Nobel Biocareอย่างเป็นทางการ
    • การทำปราศจากเชื้อมาตรฐานระดับโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการฝังรากฟันเทียม
    • การฝังรากฟันเทียมด้วยระบบดิจิทัล 3D Dental CT Scan
      • เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่างๆแก่ผู้ป่วย
      • เพื่อลดระยะเวลาในการรักษา
      • เพื่อเพิ่มรายละเอียด ความแม่นยำในการวินิจฉัย
      • พบและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความเสี่ยงในการฝังรากฟันเทียม
    • การทำครอบฟันและสะพานฟันบนรากเทียมด้วยการสแกนฟันดิจิทัลและแลปทันตกรรมแบบ CAD/CAM เพื่อให้ได้ครอบฟันและสะพานฟันที่แม่นยำและพอดีที่สุด
    • เรามีการรับประกันตัวรากฟันเทียมถึง 5 ปี ในกรณีที่ตัวรากเทียมหลุดหรือไม่ยึดเกาะกับกระดูก และรับประกันตัวครอบฟันบนรากเทียม 2 ปี หากมีการแตก

DENTAL IMPLANTS : ทำรากฟันเทียมราคาเท่าไหร่?

DENTAL IMPLANTS

Single Implant with Zirconia Crown

THB Warranty
Dentium Implant  65,000
Megagen Implant (BlueDiamond Model, Korean Straumann)
70,000
BioHorizons Implant 75,000
Straumann Implant  (Roxolid SLA)  90,000
Zeramex Zirconia Implant  105,000

2 Implants with 3-Unit Bridge

THB Warranty
Dentium Implant  155,000
Megagen Implant (BlueDiamond Model, Korean Straumann)
165,000
BioHorizons Implant 175,000
Straumann Implant  (Roxolid SLA)  205,000
Zeramex Zirconia Implant  235,000

2 Implants with 4-Unit Bridge

THB Warranty
Dentium Implant  180,000
Megagen Implant (BlueDiamond Model, Korean Straumann)
190,000
BioHorizons Implant 200,000
Straumann Implant  (Roxolid SLA)  230,000
Zeramex Zirconia Implant  260,000

Full-Arch / Full-Jaw Reconstruction*

THB
We provide Final Prosthesis of All on 4/5/6 implant concept with fully screw retained high impact acrylic (KULZER®) with reinforced metal sub-structure which can be served as long-term final prosthesis.
Unlike traditional one day teeth of All on 4/5/6 concept which requires remaking of final prosthesis after 6 months, our final prosthesis lasts for years and requires 5-7 days to be made after the implant placement. We do not offer low prices with compromised quality of work.
All-on-4 Implants           340,000
      360,000

     400,000

All-on-5 Implants           425,000
      450,000

     500,000

All-on-6 Implants           510,000
      540,000

     600,000

Special Offer: 10% Discount on Cash Payment or Transfer