ผ่าฟันคุดห้ามกินอะไรบ้าง อาหารหลังผ่าฟันคุดที่กินได้มีอะไรบ้าง แล้ววิธีดูแลหลังผ่าฟันคุดต้องทำอย่างไร เป็นคำถามที่ผู้มีอาการฟันคุดที่ต้องเข้ารับการผ่าฟันคุดสงสัย และอยากศึกษาไว้ เพื่อเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาที่คลินิกผ่าฟันคุด เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง และป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ สำหรับใครที่กำลังวางแผนจะผ่าฟันคุดในอนาคตอันใกล้ เรามีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับวิธีดูแลตนเองหลังผ่าฟันคุด รวมถึงอาหารที่สามารถรับประทานได้ มาฝากกัน!
Page Contents
ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด
ฟันคุด (Wisdom teeth) คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ก็ได้ ฟันคุดนั้นสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากต่าง ๆ มากมาย เช่น เหงือกอักเสบ ฟันผุ กระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันของฟันข้างเคียงถูกทำลาย เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันคุดทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ถอน หรือผ่าฟันคุดออกนั่นเอง
อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าฟันคุด
อาการทั่วไปที่พบได้หลังผ่าฟันคุด คือ อาการปวดฟันมาก อ้าปากได้จำกัด และอาการชาหลังผ่าฟันคุดชั่วคราว ซึ่งสามารถหายได้เองเมื่อระยะเวลาผ่านไป นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว หลังผ่าฟันคุดยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ด้วย เช่น การติดเชื้อของแผลผ่าตัด กระดูกเบ้าฟันอักเสบ และอาการชาหลังผ่าฟันคุดถาวร
หากพบว่า หลังจากผ่านไป 3 วันแล้ว อาการปวดฟันยังไม่หายดี และมีอาการปวดฟันมากขึ้นเรื่อย ๆ หรือพบว่าแผลผ่าตัดมีลักษณะเปื่อย มีน้ำเหลือง มีหนอง มีอาการบวมแดง หรือมีไข้ร่วมด้วย นั่นอาจเป็นสัญญาณของแผลติดเชื้อ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบทันที
วิธีดูแลตนเองหลังผ่าฟันคุด
หลังผ่าฟันคุดเสร็จแล้ว ผู้เข้ารับการผ่าฟันคุดจะต้องดูแลตนเองตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยให้กระบวนการฟื้นตัวของร่างกายเป็นไปตามปกติ และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ โดยทันตแพทย์อาจแนะนำวิธีดูแลหลังผ่าฟันคุดด้วยตนเอง ดังนี้
- กัดผ้าก๊อซหลังผ่าตัดฟันคุด ระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง หรือตามที่ทันตแพทย์สั่ง เพื่อห้ามเลือดที่ไหลซึมออกมาจากแผล โดยในระหว่างที่กัด หากมีเลือด หรือน้ำลายซึม ให้กลืนเลือด หรือน้ำลายนั้นได้เลย
- หลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำในวันแรก หรือถอด ๆ ใส่ ๆ ผ้าก๊อซ เพราะจะทำให้เลือดไม่หยุดไหล เสี่ยงทำให้แผลติดเชื้อ หรือทำให้ก้อนเลือดที่เพิ่งแข็งตัวหลุดออก
- หลีกเลี่ยงการดูดแผล หรือเอาลิ้นดุนแผล เพราะจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด รบกวนการหายของแผล และทำให้เกิดกระดูกเบ้าฟันอักเสบตามมา
- สามารถประคบเย็นด้านนอกช่องปากบริเวณแผลผ่าตัด ครั้งละประมาณ 15 นาที จะช่วยให้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้น และบรรเทาอาการปวดได้
- รับประทานยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง และจะต้องรับประทานจนหมด เพื่อป้องกันการเกิดแผลติดเชื้อ และการดื้อยา
- ในกรณีที่มีอาการปวดมาก สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดได้
- แพทย์จะนัดหมายให้มาตัดไหมหลังผ่าตัดฟันคุด 1 สัปดาห์
อาหารหลังผ่าฟันคุดที่สามารถรับประทานได้
หลังจากที่ผ่าฟันคุดเสร็จแล้ว ควรรับประทานอาหารอ่อน เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อลดอาการปวดแผลและการระคายเคือง อาหารอ่อนนั้นเป็นอาหารที่ผ่านการสับ บด หั่น ปั่น หรือปรุงให้มีลักษณะอ่อนนิ่ม มีรสชาติอ่อน ไม่มีรสชาติเผ็ดร้อน สามารถเคี้ยวหรือกลืนได้ง่าย และย่อยได้ไม่ยาก
ตัวอย่างอาหารหลังผ่าฟันคุดที่สามารถรับประทานได้ หากินได้ไม่ยาก เช่น
- โจ๊กหมูเด้ง
- ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง
- ข้าวต้มปลา
- แกงจืดเต้าหู้หมูสับ
- ซุปฟักทอง
- ซุปไข่มักกะโรนี
- เกี๊ยวน้ำ
- มันบด
- ผักที่นึ่งหรือต้มจนสุกแล้ว เช่น แครอท กะหล่ำ บล็อคโคลี่ ผักกาด ฟักทอง
- นมถั่วเหลือง
ผ่าฟันคุดห้ามกินอะไรบ้าง
ก่อนหรือหลังผ่าฟันคุดห้ามกินอะไรบ้าง เป็นคำถามที่ผู้เข้ารับการผ่าฟันคุดหลายคนสงสัย เพราะไม่คิดว่าการผ่าฟันคุดจะต้องเตรียมตัวอะไรพิเศษ ในความเป็นจริงแล้ว เพื่อลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด ทันตแพทย์มักแนะนำให้งดรับประทานอาหารที่ร้อนจัด เผ็ดจัด เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อในช่องปากระคายเคือง และเสี่ยงต่อการเกิดอาการอักเสบหลังผ่าฟันคุดได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้หลังผ่าฟันคุดแล้ว ทันตแพทย์จะห้ามกินอาหารที่มีลักษณะแข็ง ต้องใช้การเคี้ยวมาก ๆ และไม่ควรใช้ฟันข้างที่ผ่าตัดในการเคี้ยว เพราะอาจทำให้เกิดแผลระคายเคือง หรือรบกวนการหายดีของบาดแผลได้ และควรงดรับประทานอาหารเผ็ดจัด ร้อนจัด เพราะจะทำให้แสบแผล และเกิดการระคายเคืองที่บาดแผลได้
แล้วสรุปผ่าฟันคุดห้ามกินอะไรบ้าง เราได้รวบรวมเมนูอาหารที่ไม่ควรกินหลังผ่าฟันคุดมาให้แล้ว ดังนี้
- อาหารประเภทถั่ว
- แครกเกอร์ ขนมปังกรอบ ขนมขบเคี้ยว
- อาหารที่เคี้ยวยาก เช่น เนื้อติดมัน ไก่ทอด หมูกรอบ
- อาหารประเภทแกงที่มีรสชาติเผ็ดร้อน เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด แกงส้ม ต้มข่าไก่ ต้มแซ่บ ต้มเล้ง
- อาหารที่ประเภทผัดที่มีรสชาติเผ็ดร้อน เช่น ผัดกะเพรา ผัดฉ่า ผัดพริกเผา
การดูแลหลังผ่าฟันคุดที่คุณสามารถทำเองได้
วิธีดูแลหลังผ่าฟันคุด ไม่ได้ยากอย่างที่คิด คุณสามารถดูแลตนเองได้ที่บ้าน โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ทั้งเรื่องการรับประทานยา การห้ามเลือดด้วยผ้าก็อซ หากทันตแพทย์บอกแล้วว่าผ่าฟันคุดห้ามกินอะไร หรือแนะนำรายชื่ออาหารหลังผ่าฟันคุดที่สามารถรับประทานได้ ก็ควรที่จะทำตามที่แพทย์บอก ทั้งนี้หากคุณมีปัญหาฟันคุด ต้องการผ่าฟันคุดออก สามารถเข้ารับการผ่าฟันคุดโดยทันตแพทย์ผู้ชำนาญการได้ที่ ศูนย์ทันตกรรมทันตกิจ คลินิกทันตกรรมที่ดูแลรอยยิ้มคนไทย มานานกว่า 77 ปี