ผ่าฟันคุด
คลินิกผ่าและถอนฟันคุดโดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (Wisdom Tooth)
ฟันคุดหรือเรียกอีกชื่อว่า “ฟันกรามซี่ที่สาม” เป็นฟันชุดสุดท้ายของฟันกรามที่งอกออกมา ผู้คนจำนวนมากเลือกที่จะถอนหรือผ่าฟันคุดออกเพราะว่าฟันคุดไม่ได้มีประโยชน์แต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้นฟันคุดอาจก่อให้เกิดอันตรายกับช่องปากของเราได้เนื่องจากลักษณะการงอกที่มักไม่ขึ้นตรงเหมือนฟันซี่อื่น ๆ และมักจะไปเบียดฟันที่อยู่ด้านข้างได้ ปกติแล้วฟันคุดจะขึ้นมาในช่วงที่อายุ 18 – 25 ปี เหตุเพราะพื้นที่เหงือกในปากของเราไม่เพียงพอให้ฟันคุดขึ้นมาเพิ่มจากฟันแท้ซี่อื่น ๆ ดังนั้นฟันคุดจึงขึ้นในลักษณะเอียงหรือเฉ และอาจทำให้เกิดฟันซ้อนได้ บางครั้งฟันคุดก็งอกออกมาไม่เต็มที่ ลักษณะนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาในช่องปากได้ในอนาคตได้ เช่น ติดเชื้อที่เหงือกบริเวณฟันคุด หรือเกิดการปวดฟันคุด
ทันตแพทย์ยังแนะนำว่าวัยรุ่นควรไปตรวจฟันคุดก่อนอายุ 20 ปีเพื่อให้รู้ว่าฟันคุดของคุณจะขึ้นมาอย่างไร จะขึ้นมาเบียดกับฟันกรามที่อยู่ข้างหน้าหรือไม่ หรือในกรณีที่ฟันขึ้นมาไม่สุด ทันตแพทย์จะทำการเอกซ์เรย์เพื่อดูว่าฟันคุดขึ้นมาโดยมีลักษณะเอียงหรือเฉหรือไม่ และหากจำเป็น ทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากแนะนำให้ถอนหรือผ่าฟันคุดซี่ดังกล่าวออกในขณะที่รากฟันยังเติบโตไม่เต็มที่ การผ่าฟันคุดนั้นเป็นกระบวนการศัลยกรรมที่ต้องใช้ยาชาเฉพาะที่ (ฉีดเข้าไปที่เหงือก) ก่อนการถอนฟันคุด เมื่อยาชาหมดฤทธิ์แล้วคุณจะรู้สึกได้ถึงอาการปวด จากนั้นกระบวนการฟื้นสภาพหลังผ่าฟันคุดก็จะเริ่มขึ้น
สาเหตุที่เราต้องผ่าฟันคุดออก
- เพื่อป้องกันอาการปวดฟันคุดจากการที่ฟันกรามซี่ที่ 3 ขึ้นไม่ได้เนื่องจากเบียดฟันซี่ข้างๆ อยู่ หรือติดกระดูกเรมัส ทำให้เกิดแรงดันบริเวณขากรรไกรขึ้น บางรายที่รากฟันคุดยาวไปกดหรือเกี่ยวคลองประสาทและเส้นเลือดที่อยู่ในขากรรไกร ทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทและเส้นเลือดนั้นได้ หากไม่รีบเอาออกหรือทิ้งไว้นาน หรือในฟันคุดบนถ้าทิ้งไว้นานโพรงไซนัสย้อยต่ำลงมา การผ่าฟันคุดออกอาจทำให้เกิดรอยทะลุระหว่างช่องปากและโพรงไซนัสได้
- เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกนั้นแล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวด และบวมเป็นหนองมีกลิ่นมาก ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คางหรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง บางรายถ้าเหงือกอักเสบมากและฟันคู่สบงอกยาวลงมากัดโดนเหงือก จะยิ่งทำให้อาการปวดรุนแรงมาก จึงจำเป็นต้องถอนหรือผ่าฟันคุดออกเพื่อระงับอาการเหล่านี้
- ถอนหรือผ่าฟันคุดเพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่ 2 ที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่ บางรายที่เป็นมากๆ อาจจะต้องเอาฟันทั้ง 2 ซี่นี้ออกเลยทีเดียว
- เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมาจะทำให้กระดูกรอบรากฟันหรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป ในรายที่ฟันข้างเคียงยังไม่ผุ การผ่าหรือถอนฟันคุดล่าช้าเกินไปจะทำให้กระดูกหุ้มรากฟันและรากฟันซี่ข้างเคียงถูกทำลายหายไปอาจจะกระทบกระเทือนต่อการมีชีวิตของฟันซี่นั้นไปด้วย
- เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำ หรือเนื้องอกฟันคุดที่ทิ้งไว้นาน เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุดอาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำแล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียงและกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น หากไม่เคยได้รับการตรวจฟันมักจะรู้ตัวอีกทีเมื่อเห็นใบหน้าเอียง หรือขากรรไกรข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ซึ่งถ้าพบและรีบทำการผ่าหรือถอนฟันคุดออกได้เร็ว จะช่วยลดการสูญเสียอวัยวะขากรรไกร ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่ถ้าถุงน้ำหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากๆ ก็อาจต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออกทำให้เสียรูปหน้าบริเวณนั้นได้
- เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรจะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อนเมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทกกระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
- ในการจัดฟันเพื่อแก้ไขฟันหน้าซ้อนเก มักต้องถอนฟันกรามซี่ที่3 ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ และแรงดันของฟันคุดยังมากพอที่จะผลักให้ฟันข้างเคียงรับแรงกระทบต่อๆ กันไปจนทำให้การแก้ไขฟันหน้าบิดซ้อนเกไม่ได้รับผลที่ดี
ผู้สูงอายุที่ฟันกรามถูกถอนออกแต่ไม่ได้ถอนฟันคุดออกไป และต้องใส่ฟันเทียมถอดได้ ฟันเทียมด้านท้ายจะไปกดกระดูกทำให้กระดูกละลายไปทำให้เจ็บบริเวณด้านท้ายฟันเทียมได้หากรู้อย่างนี้แล้ว คงไม่อยากปล่อยฟันคุดนี้เป็นอุปสรรคในชีวิต การผ่าฟันคุดออกตอนที่ยังไม่ปวดจะง่ายและไม่เจ็บปวดเท่าตอนที่ระบมและเจ็บปวดจากฟันคุด
Types of Impactations
การดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุด
หลังจากถอนฟันคุดออกไปแล้ว ปากของคุณอาจมีอาการบวมหรือปวดที่เหงือกบริเวณที่ถูกถอน บางครั้งอาจมีเลือดออกมามากหลังจากผ่าเสร็จใหม่ ๆ ทันตแพทย์จะให้คุณกัดผ้าก๊อซไว้เพื่อห้ามเลือด ขณะที่ช่องปากของคุณกำลังฟื้นคืนสภาพ ต้องระวังอย่าให้มีลิ่มเลือดไหลออกมา และพยายามอย่าทำอะไรที่เป็นกระทบกระเทือนเหงือกในช่วงนี้ ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ โซดา หรือของร้อน ควรรับประทานอาหารอ่อนในช่วง 2 -3 วันแรกหลังผ่าฟันคุด รวมถึงไม่ควรแปรงฟันในวันแรกหลังผ่าเพราะช่องปากจำเป็นต้องควบคุมไม่ให้เลือดไหลออกมามาก ระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าฟันคุดทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 3 – 4 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์
ข้อแนะนำหลังผ่าฟันคุดเพิ่มเติม ให้คุณทำกิจกรรมที่มีการกระทบกระเทือนน้อยลง นอนโดยที่ยกศีรษะสูงขึ้นมาเล็กน้อยประมาณ 2 – 3 วัน หรือหากมีความจำเป็นไม่สามารถหยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ได้ ให้ระมัดระวังไม่ให้มีลิ่มเลือดออกมาจากบริเวณฟันที่ถอนออกไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์
สำหรับอาการปวด ปกติแล้วทันตแพทย์จะให้ยาแก้ปวดมาเพื่อช่วยบรรเทาหลังยาชาหมดฤทธิ์ หรือถ้าปากของคุณบวมมากก็ให้ใช้ถุงน้ำแข็งประคบข้างแก้มได้ เพื่อลดอาการปวดและบวมจากการอักเสบ
วิธีการดูแลช่องปากของคุณในช่วงนี้ อาจต้องหลีกเลี่ยงการแปรงฟัน บ้วนน้ำลาย ขัดฟัน หรือใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นคุณสามารถแปรงฟันเบา ๆ ได้โดยที่ไม่ให้โดนบริเวณที่ถอนฟัน การใช้น้ำเกลืออุ่นบ้วนปากในระยะนี้จะช่วยทำให้ช่องปากของคุณสะอาดและลดอาการติดเชื้อได้ พยายามรับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้มหรือน้ำซุปไปก่อน จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มอาหารที่มีลักษณะแข็งหลังผ่านไป 2 – 3 วันหรือเมื่อคุณแน่ใจว่าช่องปากของคุณเริ่มมีสภาพดีขึ้น
หากสังเกตเห็นว่ามีหนองออกมา หรือมีอาการปวดรุนแรง และมีไข้ ให้ไปพบทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากทันที เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อเพิ่มได้
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
ORAL SURGERY & WISDOM TOOTH EXTRACTION ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุดราคา
ติดต่อเพื่อปรึกษาแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมกับอาการปวดฟันของคุณมากที่สุด จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือหากคุณกำลังสงสัยว่า ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุดราคาเท่าไหร่ หรือถอนฟันกรามราคาจะสูงหรือไม่ สามารถปรึกษาเราก่อนได้
THB | Duration | |
Regular Tooth Extraction ราคา | 1,500–2,500 | 1 Visit |
Root Canal Tooth Extraction ราคา | 2,500–3,500 | 1 Visit |
Wisdom Tooth Extraction (Fully erupted) ราคา | 4,000 | 1 Visit |
Wisdom Tooth Extraction (Partially impacted) ราคา | 5,000–9,000 | 1 Visit |
Wisdom Tooth Extraction (Fully embedded) ราคา | 10,000–15,000 | 1 Visit |